การผลิตเชื้อเพลิงแข็งจากเศษใบกาสะลองเหลือทิ้งจากการตัดแต่งกิ่ง

ผู้แต่ง

  • ฐิติพร เจาะจง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • เมธี โอ้วสุวรรณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • กษมะ ดุรงค์ศักดิ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • สุกัญญา สมุทรเขตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

เชื้อเพลิงแข็ง, ใบกาสะลอง, การตัดแต่งกิ่ง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตเชื้อเพลิงแข็งจากเศษใบกาสะลองเหลือทิ้งจากการตัดแต่งกิ่งภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยทดสอบคุณสมบัติทางเชื้อเพลิง ตามมาตรฐานสมาคมการทดสอบและวัสดุ อเมริกัน (American Society for Testing and Materials; ASTM) ได้แก่ ค่าความร้อน ค่าความชื้น ค่าปริมาณเถ้า ปริมาณสารระเหย และทดสอบค่าคาร์บอน ไนโตรเจน และไฮโดรเจน ด้วยเครื่องวิเคราะห์ธาตุที่เป็นองค์ประกอบ ของสารอินทรีย์ จากผลการทดสอบ พบว่า ใบกาสะลองมีค่าความร้อนเฉลี่ย 4,467.41 แคลอรีต่อกรัม มีค่าความชื้นเฉลี่ย ร้อยละ 1.51 มีค่าปริมาณเถ้าเฉลี่ยร้อยละ 4.01 มีค่าปริมาณสารระเหยเฉลี่ยร้อยละ 94.59 และมีร้อยละของ คาร์บอน ไฮโดรเจน และไนโตรเจนเท่ากับ 44.80 6.05 และ 2.31 ตามลำดับ จากผลการทดสอบ พบว่า ใบกาสะลอง มีคุณสมบัติทางเชื้อเพลิงที่ดีและยังเป็นการนำเศษใบไม้ที่เหลือจากการตัดแต่งกิ่งมาใช้เป็นเชื้อเพลิงแข็งทดแทนถ่าน จากไม้ฟืนที่ใช้ในครัวเรือนและอุตสาหกรรมได้ อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดปัญหาขยะและมลพิษที่เกิดจากใบไม้เหลือทิ้ง จากการตัดแต่งกิ่งอีกทางหนึ่งด้วย

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. ภาวะการมีงานทำของประชากร สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563. จาก https://www.nso.go.th/sites/2563/Report02-63.pdf

อังคาร นาคอินทร์, และฐิติพร เจาะจง. เชื้อเพลิงอัดแท่งจากใบกล้วย, ใบตาล และใบมะพร้าว. รายงาน

สืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ “พิบูลสงครามวิจัย” และนิทรรศการ “การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว” จากท้องถิ่นสู่อาเซียน, 2557, หน้า 85-89.

ศิริขวัญ กาศเกษม, และฐิติพร เจาะจง. เชื้อเพลิงอัดแท่งจากหญ้าเนเปียร์และหญ้าแฝก. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ “พิบูลสงครามวิจัย” และนิทรรศการ “การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว” จากท้องถิ่นสู่อาเซียน, 2557, หน้า 72-76.

ธนาพล ตันติสัตยกุล, กะชามาศ สายดา, สุจิตรา ภูส่งสี, และศิวพร เงินเรืองโรจน์. การศึกษาความเหมาะสมการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งจากเปลือกสับปะรด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(5) (ฉบับพิเศษ), 2558, หน้า 754-773.

ธนาพล ตันติสัตยกุล, สุริฉาย พงษ์เกษม, ปรีย์ปวีณ ภูหญ้า, และภานุวัฒน์ ไถ้บ้านกวย. พลังงานทดแทนชุมชนจากเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่งจากทางมะพร้าว. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(3), 2558, หน้า 418-429.

เตือนใจ ปิยัง, อเนก สาวะอินทร์, และนฤฤทธิ์ กล่อมพงษ์. การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษวัสดุเหลือในสวนปาล์มน้ำมัน บ้านห้วยยูง จังหวัดกระบี่. วารสารเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 10(5), 2561, หน้า 365-374.

ฐิติพร เจาะจง, และปราณี แซ่หยาง. การทดสอบสมบัติแท่งเชื้อเพลิงจากลำต้นขิง. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการการน าเสนอผลงานวิจัยระดับชาติการประชุมสวนสุนันทาวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชาติ ครั้งที่ 1, 2561, หน้า 269-276.

อัจฉรา อัศวรุจิกุลชัย, ชลันดา เสมสายัณห์, นัฐพร ประภักดี, ณัฐธิดา เปี่ยมสุวรรณศิริ, และนิภาวรรณ ชูชาติ. การนำเปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุดมาใช้ประโยชน์ในรูปเชื้อเพลิงอัดแท่ง. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49, 2554, หน้า 162-168.

นฤภัทร ตั้งมั่นคงวรกูล, และพัชรี ปรีดาสุริยะชัย. การศึกษากากกาแฟและกากชามาใช้ประโยชน์ในรูปเชื้อเพลิงอัดแท่ง. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 7(13), 2558, หน้า 15-26.

เบญจมาภรณ์ วงษ์ค าจันทร์, และฐิติมา รุ่งรัตนาอุบล. เชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษไม้พาเลท. วารสารวนศาสตร์, 37(1), 2561, หน้า 143-152.

Maia B. , Souza O. , Marangoni C. , Hotza D. , Oliveira A. , & Sellin N. Production and characterization of fuel briquettes from banana leaves waste. Chem. Eng. Transact., 37, 2014, pp. 439-444.

Ifa L., Yani S., Nurjannah N., Sabara Z., Yuliana Y., Kusuma H., & Mahfud M. Production of biobriquette from biochar derived from pyrolysis of cashew nut waste. Ecol. Environ. Conserv., 25(Suppl. Issue), 2019, pp. S125-S131.

นฤภัทร ตั้งมั่นคงวรกูล. การผลิตแท่งเชื้อเพลิงจากวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตร และครัวเรือน.วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 2557, 6 (11), หน้า 66-77.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30

How to Cite

[1]
เจาะจง ฐ., โอ้วสุวรรณ เ., ดุรงค์ศักดิ์ ก., และ สมุทรเขตร์ ส., “การผลิตเชื้อเพลิงแข็งจากเศษใบกาสะลองเหลือทิ้งจากการตัดแต่งกิ่ง”, JSciTech, ปี 5, ฉบับที่ 2, น. 1–12, ก.ย. 2021.