การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิพื้นผิวดินกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน กรณีศึกษาจังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ วรรณทวี คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วิรดา ศรทอง คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • พิยดา พิมพ์จันทร์ คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์, อุณหภูมิพื้นผิวดิน, การใช้ประโยชน์ที่ดิน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิพื้นผิวดินกับการใช้ประโยชน์ที่ดินจังหวัดระยองโดยใช้ข้อมูลดาวเทียม LANDSAT-8 และคำนวณค่าอุณหภูมิพื้นผิวดิน มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) อุณหภูมิความส่องสว่าง 2) อุณหภูมิความสว่างชั้นบรรยากาศ 3) ดัชนีพืชพรรณ 4) สัดส่วนของพืชพรรณที่ปกคลุมดิน ร่วมกับการศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยวิธีการจำแนกแบบกำกับดูแล ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่เกษตรกรรมพบมากที่สุดอำเภอแกลง เท่ากับ 1,702.04 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 46.66) พื้นที่ป่าไม้พบมากที่สุด อำเภอเขาชะเมา เท่ากับ 948.32 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 26) พื้นที่ชุมชนสิ่งปลูกสร้างพบมากที่สุดอำเภอเมือง เท่ากับ 485.14 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 13.30) พื้นที่อื่น ๆ พบมากที่สุดอำเภอเมือง เท่ากับ 449.12 ตาราง กิโลเมตร (ร้อยละ 12.31) พื้นที่แหล่งน้ำพบมากที่สุดอำเภอปลวกแดง เท่ากับ 62.96 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 1.73) ผลจากการประเมินความถูกต้องสำหรับการจำแนกพบว่าความถูกต้องเท่ากับ 82 เปอร์เซ็นต์ ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิพื้นผิวดินของแต่ละอำเภอ พบว่า อำเภอปลวกแดง มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 29.10 องศาเซลเซียส รองลงมา คือ อำเภอเมือง มีอุณหภูมิเฉลี่ยเท่ากับ 29.08 องศาเซลเซียส และอำเภอนิคมพัฒนามีอุณหภูมิเฉลี่ยเท่ากับ 28.82 องศาเซลเซียส ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิพื้นผิวดินเฉลี่ยกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน (พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่อื่น ๆ พื้นที่แหล่งน้ำ พื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่เกษตรกรรม) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.742 0.468 - 0.324 - 0.642 และ - 0.663 ตามลำดับ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

References

สำนักงานคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, 2561. สืบค้นจาก http://www.eec.or.th

สำนักบริหารยุทธศาสตร์ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกม, 2558. สืบค้นจาก http://www.oic.go.th

สำนักงานจังหวัดระยอง, 2560. สืบค้นจาก http://www.Rayong.go.th

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์,2561. สืบค้นจาก http://www.kmcenter.rid.go.th

วลดา เดชะพงศ์ธนา และคณะ. การประมาณค่าอุณหภูมิพื้นผิวของการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม, 2560. สืบค้นจาก file:///C:/Users/Admin/Downloads/72090-Article%20Text-170258-1-10-20161202%20(2).pdf

ปุณยนุช รุธิรโก. การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการศึกษาปรากฏการณ์เกาะความร้อนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่และพื้นที่รอบนอก, 2558. สืบค้นจาก http://rd.hu.ac.th/Download%20File/Full%20Text%20Research/580521.pdf

นราธิป เพ่งพิศ และคณะ. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิพื้นผิวดินกับพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. วรสารเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560, หน้า 27-39

ณปภัช ร่มรัตนไตร. การศึกษาปรากฏการณ์เกาะความร้อนที่สัมพันธ์กับการขยายตัวของเมืองในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่, 2562 สืบค้นจาก http://www.agi.nu.ac.th/nred/Document/is-PDF/2562/geo_2562_042_

Fullpaper.pdf

นราธิป เพ่งพิศ. การประมาณค่าอุณหภูมิพื้นผิวดินจากข้อมูลจากดาวเทียม จังหวัดระยอง, 2559 สืบค้นจากhttp://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/57910218.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30

How to Cite

[1]
วรรณทวี ก., ศรทอง ว., และ พิมพ์จันทร์ พ., “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิพื้นผิวดินกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน กรณีศึกษาจังหวัดระยอง”, JSciTech, ปี 5, ฉบับที่ 2, น. 33–40, ก.ย. 2021.