การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการก าจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองน่าน

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร กาวีนุ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • วนิดา ชูอักษร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
  • สุภาวดี ผลประเสริฐ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ขยะมูลฝอยชุมชน, ก๊าซเรือนกระจก, เทศบาลเมืองน่าน

บทคัดย่อ

การศึกษาปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการก าจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลเมือง น่าน โดยศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพของขยะมูลฝอย และประเมินปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ จากการก าจัดขยะมูลฝอยโดยการฝังกลบ ใช้ข้อมูลการคำนวณในปี พ.ศ. 2562 น ามาคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีหน่วยเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตามแนวทางของคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และตามแนวทางของหน่วยงานองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พบว่า สัดส่วนขององค์ประกอบของขยะมูลฝอย ประเภทเศษอาหารมีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.23 รองลงมาคือขยะมูลฝอยประเภทพลาสติก และกระดาษ คิดเป็นร้อยละ 24.11 และ 14.56 ตามลำดับ ส่วนปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการกำจัดขยะ มูลฝอยของเทศบาลเมืองน่าน มีค่าเท่ากับ 16,487.71 kgCO2eq/ปี โดยเป็นการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการฝังกลบขยะมูลฝอยแต่ละชนิดเท่ากับ 16,405.28 kgCO2eq/ปี และการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการฝังกลบขยะมูลฝอยโดยมีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรถสำหรับการฝังกลบขยะมูลฝอยเท่ากับ 82.43 kgCO2eq/ปี เพื่อให้มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลงควรลดปริมาณขยะที่นำมาฝังกลบโดยมีการคัดแยกขยะและนำมาจัดการโดยเลือกรูปแบบที่เหมาะสม เช่น การนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) หรือนำมาผ่านขบวนการผลิตใหม่ (Recycle) เป็นต้น

References

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. ก๊าซเรือนกระจก ลดแค่ไหนจึงจะพอ, 2558. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2562. จาก: https://www.trf.or.th/research-digest/1001-2013-12-07-02-47-18.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ข้อมูลตัวชี้วัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแยกรายสาขา, 2561. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2562. จาก: http://www.onep.go.th/env_data/2016/01_73/.

เทศบาลเมืองน่าน. ข้อมูลปริมาณมูลฝอย โครงการก าจัดมูลฝอยเทศบาลเมืองน่านปีงบประมาณ 2561, 2561.

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย. ขยะปัญหาโลกแตกของประเทศไทย, 2555. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2562. จาก: http://www.hsm.chula.ac.th/enews/Ebook-09-10-2555.pdf.

กรมอุตุนิยมวิทยา. การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ, 2562. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2562. จาก: https://tmd.go.th/info/info.php?FileID=86.

พัชรนันท์ กลั่นแก้ว. ภาวะโลกร้อนที่เป็นผลจากพฤติกรรมของคนในสังคม, 2551. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2562. จาก: http://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/F124_P69-75.pdf

ลักษณ์นารา ขวัญชุม, ปริชาติ ยะสาธะโร, และเฉลิมชัย บุญชุบ. การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ โรงคัดแยกขยะของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 14 จังหวัดมหาสารคาม, 2558, หน้า 680-693.

นิตยา ชาคำรุณ และพจนีย์ โยธานันท์. ศึกษาการประเมินการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของหอพักของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม : วิทยานิพนธ์ปริญญาโท วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2559, หน้า 37-44.

อรชร ฉิมจารย์, ฐิติมา นันใจคำ และสุขสมาน สังโยคะ. การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. Rajabhat Journal of Sciences Humanities Social Sciences, 2559, 17(2), หน้า 230-242.

Google earth. ขอบเขตเทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน, 2562. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2562. จาก: https://satellite-map.gosur.com.

กรมควบคุมมลพิษ. คู่มือการดำเนินงานลดคัดแยกขยะมูลฝอยภายในอาคารสำนักงาน,

,000 เล่ม, พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ฮีซ์ จำกัด, 2552.

IPCC Guideline for National Greenhouse Gas Inventories – Volume 5: Waste, 2006.

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). ค่า Emission Factor โดยแบ่งตามประเภทกลุ่มอุตสาหกรรม, 2562. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2562. จาก: http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/products_emission/products_emission.pnc.

กรมอุตุนิยมวิทยาศูนย์ภูมิอากาศกองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา. ภูมิอากาศจังหวัดน่าน, 2562. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2562. จาก: http://climate.tmd.go.th.

จรัมพร ยุคะลัง, จารุวรรณ วิโรจน์และ ชัยธัช จันทรสมุด. ปัญหาและการจัดการมูลฝอยในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2555, 31(4), หน้า 363-371.

บุญชัย ชาญเชี่ยวชิงชัย. การวิเคราะห์องค์ประกอบของขยะและการจัดการขยะชุมชนพื้นที่จังหวัดลพบุรี อำเภอพัฒนานิคม ตำบลช่องสาลิกา. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30

How to Cite

[1]
กาวีนุ ป., ชูอักษร ว., และ ผลประเสริฐ ส., “การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการก าจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองน่าน”, JSciTech, ปี 5, ฉบับที่ 2, น. 13–22, ก.ย. 2021.