การเพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาเครื่องจักรในกระบวนการผลิต กรณีศึกษาโรงงานผลิตเครื่องดื่ม
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, การบำรุงรักษา, กระบวนการผลิตบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาเครื่องจักรในกระบวนการผลิต กรณีศึกษาโรงงานผลิตเครื่องดื่มแห่งหนึ่ง จากแผนการผลิต ปี พ.ศ. 2562 ก าหนดให้มีแผนในการผลิตทั้งหมด 3,243 ชั่วโมง ซึ่งพบปัญหาเครื่องจักรชำรุดรวมเวลา 907 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 27.96 ซึ่งพบว่าเครื่องแพ็คฟิล์มมี ปัญหาฟิล์มตัดไม่ขาดเป็นปัญหาหลัก เมื่อนำมาวิเคราะห์ตามหลักการทฤษฎีการจัดการงานวิศวกรรม โดยใช้เครื่องในการวิเคราะห์ปัญหา ประกอบไปด้วย แผนภูมิพาเรโต้ (Pareto Diagram) แผนภาพสาเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) ในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหา จากการวิเคราะห์ปัญหาพบว่าโรงงานที่ศึกษาไม่มีระบบการจัดการการซ่อมบำรุงอย่างมีประสิทธิภาพ มีแผนซ่อมบำรุงที่ไม่สอดคล้องกับการทำงานของเครื่องจักรในปัจจุบัน การศึกษานี้จึงได้นำระบบการบำรุงรักษาเชิงรุก (Proactive Maintenance) ซึ่งประกอบไปด้วย บำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance) และการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) เข้ามาแก้ไข ปรับปรุงระบบการซ่อมบำรุงเดิมที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ผลการดำเนินงานหลังปรับปรุงพบว่าเวลาสูญเสียจากเครื่องแพ็คฟิล์มชำรุดเฉลี่ยต่อเดือนลดลง คิดเป็นร้อยละ 29.45 ส่งผลให้อัตราความพร้อมของเครื่องจักรทั้งกระบวนการผลิต ค่าก่อนการปรับปรุง 73.44 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 85.77 ประสิทธิภาพของเครื่องจักร (Performance Efficiency) ค่าก่อนปรับปรุงร้อยละ 90.69 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 96.88 อัตราคุณภาพ (Quality Rate) เพิ่มขึ้นจากค่าก่อนปรับปรุงร้อยละ 99.65 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 99.85 โดยส่งผลให้ค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness: OEE) จากค่าก่อนปรับปรุงร้อยละ 66.36 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 82.97 ผลต่างเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6
References
อภิชาติ นาควิมล. การพัฒนาระบบการจัดการบำรุงรักษาเครื่องจักรเพื่อลดการสูญเสียและเพิ่มประสิทธิผลในสายการผลิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560.
ลลัลดา ชมโฉม. การศึกษาปัญหาและการหาวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพเกี่ยวกับการเนินงานด้านเอกสารประกอบการเดินพิธีการกรมศุลกากร (ใบขนขาออก) กรณีศึกษา บริษัทตัวแทนส่งออกสินค้าทางอากาศแห่งหนึ่ง. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559.
ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง. เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด (7 QC Tools), 2560. สืบค้นจาก http://www.pakoengineering.com/blog/2017/เครื่องมือคุณภาพ-7-qc-tools/.
สราลี ล่องนาวา. การลดความขัดข้องของเครื่องจักรในอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้า. บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2560.
ธีรพงษ์ ขันทอง. การปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักร กรณีศึกษาสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558.
สนธยา สุขคตะ. การพัฒนาระบบการด าเนินงานซ่อมบำรุงช่วงเครื่องจักรหยุดกระบวนการผลิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2563
อุเทน เฉลยโฉม สุรัตน์ ตรัยวนพงศ์ และระพี กาญจนะ. การเพิ่มประสิทธิภาพการท างานของเครื่องทอดโดยเทคนิคการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน กรณีศึกษา โรงงานอาหารกึ่งสำเร็จรูป. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี, 2558, 13 (2), หน้า 21.
ธีระศักดิ์ พรหมเสน. การบำรุงรักษาตามสภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตกรณีศึกษา โรงงานผลิตเครื่องดื่ม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.