การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบจากมันฝรั่งต้มที่เหลือในกระบวนการเพาะเลี้ยงถั่งเช่าสีทอง

ผู้แต่ง

  • พิชญ์ ตั้งสมบัติวิจิตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • กานดาวดี โนชัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ดารานัย รบเมือง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • อุทาน บูรณศักดิ์ศรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ข้าวเกรียบ, มันฝรั่งต้ม, การเพาะเลี้ยงถั่งเช่าสีทอง

บทคัดย่อ

มันฝรั่งต้มเป็นวัตถุดิบหนึ่งในกระบวนการเพาะเลี้ยงถั่งเช่าสีทอง โดยน้ำต้มมันฝรั่งถูกใช้ในการเตรียม อาหารสำหรับเพาะเลี้ยงถั่งเช่า ดังนั้นมันฝรั่งต้มจึงเป็นของเหลือทิ้งในกระบวนการ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ น้ำมันฝรั่งต้มมาแปรรูปเป็นข้าวเกรียบ เพื่อเพิ่มมูลค่าและเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ เริ่มต้นด้วยมันฝรั่งต้มถูกนำไป ตรวจสอบคุณค่าของสารอาหาร ผลการทดลองพบว่า มันฝรั่งต้มมีโปรตีน 2.06 ± 0.09 กรัม/100 กรัม คาร์โบไฮเดรต 14.81 ± 0.33 กรัม/100 กรัม ไขมัน 0.07+0.03 กรัม/100กรัม พลังงานจากไขมัน 0.41+0.05 กิโลแคลอรี่/100 กรัม พลังงานทั้งหมด 66.54 ± 0.85 กิโลแคลอรี่/100กรัม และใยอาหาร 1.99 ± 0.10 กรัม/100 กรัม จากนั้นมันฝรั่งต้มถูก น้ามาแปรรูปเป็นข้าวเกรียบ ผลการทดลองพบว่า ข้าวเกรียบสูตรที่ 3 คือ มีอัตราส่วนของมันฝรั่งต้ม : แป้งมันสำปะหลัง เท่ากับ 1:1 เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากที่สุด ข้าวเกรียบสูตรที่ 3 มีปริมาณโปรตีนสูงถึง 2 เปอร์เซ็นต์ และใยอาหารสูงถึง 4 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นข้าวเกรียบจากมันฝรั่งต้มในการทดลองนี้ สามารถเป็นอาหารว่างทางเลือก สำหรับผู้บริโภค การทดลองนี้ยังช่วยลดมันฝรั่งต้มที่เหลือเป็นการจัดการขยะเป็นศูนย์ในกระบวนการเพาะเลี้ยงถั่งเช่าสีทองด้วย

Author Biographies

พิชญ์ ตั้งสมบัติวิจิตร, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์

กานดาวดี โนชัย, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์

ดารานัย รบเมือง, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์

อุทาน บูรณศักดิ์ศรี, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

References

Huang L., Li Q., Chen Y. Wang X. and Zhou X. Determination and analysis of cordycepin and adenosine in the products of Cordyceps spp. African Journal of Microbiololgy Research, 2009, 3 (12): 957–961.

Shrestha B., Zhang W., Zhang Y and Liu X. The medicinal fungus Cordyceps militaris: research and development. Mycological Progress, 2012, 11 (3): 599-614.

วิโรจน์ แก้วเรือง. ถั่งเช่าไหมไทย สมุนไพรทองค า. น.ส.พ. กสิกร, 2556, 86(5): 18-22.

Beals, K. A. A review of potatoes and their role in global health, 2018. สืบค้นจาก https://www. potatogoodness. com/ wp- content/ uploads/ 2016/ 09/ Potato- nutrition-whitepaper.pdf

Thorpe M. P. and Evans E. M. Dietary protein and bone health: harmonizing conflicting theories. Nutrition Reviews, 2011, 69(4): 215-230.

กรมอนามัย. ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย. กองโภชนาการ. กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก, 2544.

ส้านักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. ข้าวเกรียบ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน / มผช. 107/2554, 2554 สืบค้นจาก http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps107_54.pdf

สุดารัตน์ พริกบุณจันทร์. การพัฒนาคุณภาพข้าวเกรียบปลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2547.

A.O.A.C. Official methods of analysis of association of official analytical chemists (16thed). The Association of Official Analytical Chemists Inc, Washinton DC., 2000.

Stute R. Hydrothermal Modification of Starches : The Difference between Annealing and Heat/Moisture –Treatment. Starch, 1992, 44 (6): 205-214.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31

How to Cite

[1]
ตั้งสมบัติวิจิตร พ., โนชัย ก., รบเมือง ด., และ บูรณศักดิ์ศรี อ., “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบจากมันฝรั่งต้มที่เหลือในกระบวนการเพาะเลี้ยงถั่งเช่าสีทอง”, JSciTech, ปี 5, ฉบับที่ 1, น. 60–67, มี.ค. 2021.