ประสิทธิผลของสารเคลือบไคโตซานจากเห็ดนางฟ้าต่อการเก็บรักษาผลกล้วยน้ำว้า

ผู้แต่ง

  • นลินอร นุ้ยปลอด งานวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ไคโตซาน, ไคโตซานจากเห็ดนางฟ้า, สารเคลือบไคโตซาน, การยืดอายุกล้วยน้ำว้า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสารเคลือบไคโตซานที่ได้จากเห็ดนางฟ้าต่อการยืดอายุผลกล้วยน้ำว้า เนื่องจากผลการศึกษาก่อนหน้าเกี่ยวกับการยืดอายุผลไม้ด้วยฟิล์มยืดห่ออาหารชนิดโพลีไวนิลคลอไรด์ที่เคลือบด้วยกลีเซอรอล พบว่าสามารถยืดอายุของกล้วยหอมได้ถึง 9 วัน ในอุณหภูมิห้อง ผู้วิจัยจึงมีความสนใจประยุกต์สารเคลือบไคโตซานที่ได้จากเห็ดนางฟ้าที่มีปริมาณไคโตซานมากเป็นอันดับ 3 จากเห็ดกินได้ 7 ชนิด ทั้งยังเพาะง่ายและราคาถูก ให้มีสภาพพลาสติกของฟิล์มยืดห่ออาหาร โดยน้ำกลีเซอรอลและทวีน 80 มาใช้ร่วมกับ ไคโตซาน จากนั้นศึกษาผลของสารเคลือบไคโตซานจากเห็ดนางฟ้าต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะของผลกล้วยน้ำว้า ระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง โดยติดตามในทุก 5 วัน เป็นระยะเวลารวม 10 วัน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสี เปลือก และการเปลี่ยนแปลงน้ำหนัก ทั้งนี้สารเคลือบไคโตซานต้องทดสอบเรื่องความหนืดและการยึดเกาะกับพื้นผิว ก่อนนำไปใช้ทดลองในขั้นต่อไป ผลการวิจัยพบว่า 1) กล้วยน้ำว้าที่ผ่านการเคลือบด้วยไคโตซานจากเห็ดนางฟ้ามี คุณภาพสูงกว่ากล้วยน้ำว้าที่ไม่ผ่านการเคลือบ และ 2) กล้วยน้ำว้าที่ผ่านการเคลือบด้วยไคโตซานจากเห็ดนางฟ้าที่น้ำกลีเซอรอลและทวีน 80 มาใช้ร่วมมีคุณภาพสูงกว่ากล้วยน้ำว้าที่ผ่านการเคลือบจากไคโตซานปกติ และยังสามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลกล้วยน้ำว้าได้ประมาณ 10 วัน หรือมากกว่าที่อุณหภูมิห้อง

References

สุนทรี แสงสีโสต. กล้วย : ผลไม้สารพัดประโยชน์. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2543, 48(153), หน้า 3-5.

มติชนออนไลน์. กล้วยไทยนิยมทั่วโลก ก.เกษตรฯ ส่งเสริมพื้นที่ปลูก ชู “บ้านลาด” โมเดล, 2560. สืบค้นจาก http:// www.prachachat.net/economy/news-44949.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.). การผลิตกล้วยน้ำว้าและการแปรรูป. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2554.

สุทธิวัลย์ สีทา. ผลของการเคลือบผิวด้วยไคโตซานต่อการชะลอการสุกของผลกล้วยหอมพันธุ์คาเวนดิช. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2542.

จันทรพร ทองเอกแก้ว. การศึกษาปริมาณไคตินและไคโตซานจากเห็ดกินได้ชนิดต่าง ๆ. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2551.

Ki Myong Kim, Jeong Hwa Son, Sung-Koo Kim, Curtis L. Weller and Milford A. Hanna. Properties of Chitosan Films as a Function of pH and Solvent Type. Journal of Food Science, 2006, 71(3), 119-124.

Harish Prashanth and Tharanathan. Chitin/chitosan : modification and their unlimited application potential – an overview. Journal of Trends in Food Science & Technology, 2007. 18(3), 117-131.

Lee C.H., Park H.J. and Lee D.S. Influence of antimicrobial packaging of kinetics of spoilage microbial growth in milk and orange juice. Journal of Food Engineering, 2004, 65(4), 527-531.

Frank Devlieghere and An Vermeulen. Chitosan: antimicrobial activity, interactions with food components and applicability as a coating on fruit and vegetables. Journal of Food Microbiology, 2004, 21(6), 703-714.

นภาพร เชี่ยวชาญ และธนารัตน์ ศรีธุระวานิช. ไคโตแซนกับการยับยั้งจุลินทรีย์ในอาหาร. วารสารอาหาร, 2546, 34(2), หน้า 120-124.

ดนัย บุณยเกียรติ. การปฏิบัติภายหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2548. 248 หน้า.

สุกัญญา วงวาท. การพัฒนาสารเคลือบผิวอิมัลชันจากไคโตซาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2549.

อุมาพร ชนประชา, อนุวัตร แจ้งชัด และกมลวรรณ แจ้งชัด. ผลของสารเสริมสภาพพลาสติกต่อคุณสมบัติสารเคลือบไคโตซานและการประยุกต์ในกล้วยหอม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2552.

จิรสา ทรงกรด. สารลดแรงตึงผิว. กรุงเทพฯ: กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2548.

อาร์ซีซ๊ะ ดินอะ. ผลของไคโตซานต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในกล้วยไม้รองเท้านารีขาวสตูล. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2541.

Synowiecki and Al-Khateeb. Production, properties, and some new applications of chitin and its derivatives. Critical Reviews in Food Science and Nutrition, 2003, 43(2), 145-171.

Perez-Gago, Rojas and Del Rio. Effect of lipid type and amount of edible hydroxypropyl Methylcellulose-lipid composite coatings used to protect postharvest quality of mandarin cv.Fortune. Journal of Food Science, 2002, 67(8): 2903-2910.

นลินอร นุ้ยปลอด. การศึกษาการขจัดคราบเลือดโดยใช้ผักโขม. วารสารวิจัย มทร.กรุงเทพ, 2562, 13(1), หน้า 109-115.

กนกภรณ์ อุปรัง, ปาลิตา เกิดทวี และเพื่อนจิต สิงห์เผ่น. ผลของสารสกัดจากใบชะพลูในการขจัดคราบเลือด. พิษณุโลก: โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี.

Everette and McLeod. Interactions of polysaccharide stabilizers with casein aggregates in stirred skim-milk yoghurt. Journal of International Diary, 2005, 15(11), 1175-1183.

Srinivasa, Ramesh and Tharanathan. Effect of plasticizer and fatty acids on mechanical and permeability characteristics of chitosan films. Journal of Food Hydrocolloids, 2007, 21(7), 1113-1122.

คณิศร นุตวงษ์, จักรกฤษ วงตา และสุภเวท มานิยม. การพัฒนาสารเคลือบผิวกล้วยหอมทองโดยใช้สารสกัด จากครั่งเม็ด. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31

How to Cite

[1]
นุ้ยปลอด น., “ประสิทธิผลของสารเคลือบไคโตซานจากเห็ดนางฟ้าต่อการเก็บรักษาผลกล้วยน้ำว้า”, JSciTech, ปี 5, ฉบับที่ 1, น. 1–10, มี.ค. 2021.