การพัฒนาสื่อดิจิทัลออนไลน์ร่วมกับวิธีการสอนแบบจิ๊กซอร์ ในรายวิชาเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนศรัทธาสมุทร
คำสำคัญ:
สื่อดิจิทัลออนไลน์, วิธีการสอนแบบ(จิ๊กซอร์), รายวิชาเทคโนโลยีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อดิจิทัลออนไลน์ร่วมกับวิธีการสอนแบบจิ๊กซอร์ ในรายวิชาเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 โรงเรียนศรัทธาสมุทร 2) หาประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัลออนไลน์ร่วมกับวิธีการสอนแบบจิ๊กซอร์ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนด้วยสื่อดิจิทัลออนไลน์ร่วมกับวิธีการสอนแบบจิ๊กซอร์ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ทีมีต่อสื่อดิจิทัลออนไลน์ร่วมกับวิธีการสอนแบบจิ๊กซอร์ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน คัดเลือกโดยแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การพัฒนาสื่อดิจิทัลออนไลน์ร่วมกับวิธีการสอนแบบจิ๊กซอร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test Dependent
ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อดิจิทัลออนไลน์ร่วมกับวิธีการสอนแบบจิ๊กซอร์ ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ด้านเนื้อหา และด้านเทคนิคการผลิตสื่อ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.71 , S.D. = 0.46) 2) ประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัลออนไลน์ร่วมกับวิธีการสอนแบบจิ๊กซอร์ มีค่าเท่ากับ 71.89/72.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยการพัฒนาสื่อดิจิทัลออนไลน์ร่วมกับวิธีการสอนแบบจิ๊กซอร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.82, S.D.=0.40)
References
เกริกฤทธิ์ บัวนาค และธิติจันตะคุณ. (2552). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่าย วิชาคอมพิวเตอร์
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2. ในการประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 5 โดย
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม
ทิศนา แขมมณี (2551) กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์ (2551). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัด
ธนิตย์ สุวรรณเจริญ (2543) เทคนิคการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. พิมพ์ครั้ง
ที่ 7 (ฉบับพิมพ์เพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม.กรุงเทพฯ : สำนักงาน
คณะกรรมการกฤษฎีกา
ไสว ฟักขาว. (2544). หลักการสอนสาหรับการเป็นครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ :สถาบันราชภัฎจันทรเกษม
สุวิทย์ มูลคำ. (2546). 19 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.
Slavin, R. E. (1994). Cooperative learning. In Torsten Husin & T. Neville postlethwaite (Eds.), The international encyclopedia of education(2 ed., Vol. 1, pp. 1097). Oxford Elsevier Science.
เกียรติศักดิ์ ตุ้มคง และจรินทร อุ่มไกร. (2564). กการพัฒนาสื่อดิจิทัลออนไลน์ร่วมกับวิธีการสอนแบบ(จิ๊กซอร์)ในรายวิชาเทคโนโลยีโดยใช้ Google site.ใน การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 7. มหาสารคาม.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2554) การออกแบบพัฒนาโปรแกรมบทเรียนและบทเรียนบนเว็บ. พิมพ์ครั้งที่ 15. มหาสารคาม
: ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสาร การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มนชัย เทียนทอง. (2545). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน.ภาควิชา
คอมพิวเตอร์ศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
พิสุทธา อารีราษฎร์. (2550). การพัฒนาซอฟแวร์ทางการศึกษา. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์
สุนิตา อยู่ดี และนพดล ผู้มีจรรยา. (2564). การพัฒนาเว็บช่วยสอนร่วมกับการเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด เรื่อง การใช้งาน
อินเทอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดอริยวงษาราม (หนองน้ำขาว). ใน การประชุมวิชาการ
ระดับชาติ ครั้งที่ 13. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
มนต์ชัย เทียนทอง. (2551). เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ Mentor Coached Think-Pair-Share เพื่อเพิ่ม
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการเรียนรู้ออนไลน์. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
Kagan,S. (1994). Cooperrative Learning & Wee Science. San Clemento : Kagan Cooperative Learning
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.