การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดสำหรับการจัดเก็บและบริหารคลังสินค้าฉนวนยางหุ้มท่อในอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดและจัดหมวดหมู่สินค้า 2) ประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดและจัดหมวดหมู่สินค้าในการจัดเก็บและบริหารพื้นที่คลังสินค้าฉนวนยางหุ้มท่อในอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น รูปแบบการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Operation Research) ฐานข้อมูลสินค้าประเภทฉนวนยางหุ้มท่อในปี 2564 ข้อมูลระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) ของบริษัทขายสินค้าฉนวนยางหุ้มท่อในอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น รวม 4 แผนก จำนวนทั้งหมด 23 คน ใช้ทฤษฎี ABC Analysis (Always Better Control) เพื่อแบ่งกลุ่มสินค้า ผลการวิจัย พบว่า สามารถแยกกลุ่มการสั่งซื้อโดยการแบ่งแยกสินค้าที่มีความต้องการซื้อมากและซื้อน้อย ซึ่งจะแบ่งสินค้าออกเป็น 3 กลุ่มตามมูลค่าของสินค้า คือ กลุ่ม A มีจำนวน19 รายการ โดยคิดเป็นร้อยละ 43 % จากจำนวนทั้งหมด มีมูลค่ามากที่สุดคือ 16,583,987.03 บาท กลุ่ม B มีจำนวน 46 รายการ โดยคิดเป็นร้อยละ 40 % จากจำนวนทั้งหมด มีมูลค่ารองลงมาคือ15,515,011.64 บาทกลุ่ม C มีจำนวน 57 รายการ โดยคิดเป็นร้อยละ 17 % จากจำนวนทั้งหมด มีมูลค่าน้อยที่สุดคือ 6,622,219.88 บาท งานวิจัยนี้ได้นำเอาสินค้าในกลุ่ม A และ กลุ่ม B มาวิเคราะห์หาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมพบว่า 1) รูปแบบ EOQ มีต้นทุนรวมน้อยกว่าการสั่งซื้อในปัจจุบัน เนื่องมาจากการสั่งซื้อที่ต้องการหาปริมาณที่เหมาะสมและลดต้นทุนในการจัดเก็บวัตถุดิบคงคลังที่มากเกินไปเมือเทียบกับการบริหารรูปแบบปัจจุบัน 2) รูปแบบปัจจุบันมีมูลค่าต้นทุนรวมสินค้าคงคลังปี พ.ศ.2564 มีมูลค่าเท่ากับ 38,676,219 บาท มากกว่า ต้นทุนรวมสินค้าคงคลังรูปแบบ EOQ ที่มีมูลค่าเท่ากับ 37,622,961บาท ซึ่งมีมูลค่าน้อยกว่า 1,053,258 บาท และ 3) จำนวนครั้งในการสั่งซื้อสินค้าลดลงไป 3,994 ครั้งต่อปี ส่งผลให้ต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้าต่อปีลดลง 1,053,258 บาทต่อปี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤษณะ สั่งการ. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลังประเภทวัสดุหีบห่อกรณีศึกษา บริษัท เค เค เค โกลบอล จำกัด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, คณะโลจิสติกส์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2550). การจัดการคลังสินค้า. (พิมพ์ครั้งที่ 5).กรุงเทพฯ: โฟกัสมีเดีย แอนด์พับลิชซิ่ง.
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2553). โลจิสติกส์และการจัดการซัพพลายเชน : กลยุทธ์สำหรับลดต้นทุนและเพิ่มกำไร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โฟกัสมิเดีย แอนด์ พับลิซซิ่ง.
คุลยา ศรีโยม ศรีวรรณ ขำตรี บรรหาร อิสระ และอัมรี เจ๊ะหลี (2564). การศึกษาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมกรณีศึกษา ร้านขายยา ABC Economic Order Quantity Determination: A Case Study of ABC Pharmacy. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 1(1), 43-56.
ทักษ์ดนัย ขัตติยะ, ดำรงศักดิ์ รินชุมภู, & เกรียงไกร อรุณโณทยานันท์. (2565). การวิเคราะห์ระบบขนส่งและการจัดการวัสดุคงคลังและเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อภายในโรงพยาบาล. ใน การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 27 (หน้า 26-1).
ธิบดินทร์ แสงสว่าง และณัฐธิดา ชะลอทรัพย์. (2564). การศึกษาการลดต้นทุนการสั่งซื้อสินค้าของร้านค้า ปลีกท้องถิ่นโดยใช้วิธี EOQ: กรณีศึกษาร้าน “ล้านกระทุ่มครับ” วารสารการจัดการสมัยใหม่, 19(2),133-143.
นิภาพร วงศ์แสง (2558). การศึกษากระบวนการวางแผนการผลิตท่อทองแดง :กรณีศึกษา บริษัท พี.เอส. เมททอลเวอกส์ วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ,2(1)
น้ำฝน สะละโกสา. (2565). การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าคงคลัง ผลิตภัณฑ์กล้วยอบน้้าผึ้ง กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้าน ต าบลแม่ระมาด อ าเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,28(2),134-140.
บริษัท เอ็มโฟกัส จำกัด. (2561). การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management).ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2565จาก: http://www.m-focus.co.th/Article_WMSTH.asp
สุริยะวรรณ์ ศิริศรีพงศ์. (2564). การก าหนดปริมาณการสั่งซื้อของสินค้าประเภทวัสดุหีบห่อ กรณีศึกษา บริษัท
ABC. วารสารวิชาการและวิจัยศาสตร์ มหาวิทยาลัยชาติสงขลานครินทร์, 26(3), 313-328.
สุนิสา ตั้งมโนกุลกิจ & นันทิ สุทธิการนฤนัย. (2560). การควบคุมปริมาณสินค้าคงคลังและการวางแผนผังการจัดเก็บสินค้า กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วน AAA. วารสาร Rangsit Graduate Research Conference: RGRC (12), 141-148.
Brown, A., & Miller, R. (2017). A Comparative Study of Inventory Management Techniques for Rubber Insulation in Refrigeration Pipes. Journal of Supply Chain Efficiency, 21(3), 155-168.
Chopra, S., & Meindl, P. (2016). Supply Chain Management: Strategy, Planning, and Operation (6th Edition). Pearson.
David J. Bloomberg, Stephen Lemay and Joe B. Hanna (2002) Warehouse Management. Prentice Hall, Inc., upper Saddle River, New Jersey.
Heizer, J. and Barry Render, Operations Management. 12th ed. 2000, Boston: Ally and
Bacon/Ginn Press.
Johnson, M., & Lee, K. (2019). Analyzing Ordering Patterns for Efficient Cold Storage Warehouse Management: A Case Study in the Refrigeration Equipment Industry. Supply Chain Analytics Review, 5(1), 34-48.
Kulya, S., Sivarat, S., Ban, A., & Amri, J. (2021). Improving Warehouse Management Efficiency: A Case Study of ABC Bird's Nest Beverage Co., Ltd. Journal of Science and Technology, Prince of Songkla University, 1(1), 43-56.
Magee, J. F., & Boodman, D. M. (1974). Production planning and inventory control. New York: McGraw-hill.
Sangsawang, T., Chalorsap, N., Chomchit, S., & Surachotivet, T. (2022). การศึกษาการลดต้นทุนการสั่งซื้อสินค้าของร้านค้าปลีกท้องถิ่นโดยใช้วิธี EOQ: กรณีศึกษาร้าน “ล้าน กระทุ่ม ครับ”. Modern Management Journal, 19(2), 132-143.
Smith, J. (2020). Optimizing Inventory Management in the Refrigeration Industry: A Data-Driven Approach. International Journal of Cold Storage and Refrigeration, 12(2), 87-102.
Stock, J. R., & Lambert, D. M. (2001). Strategic logistics management (4th ed.). Boston, MA: McGraw-Hill-Irwin.
William J. Stevenson, Operations Management. 10th ed. 2002: McGraw-Hill/Irwin.
Wisner, J. D., & Siferd, S. P. (1995). A survey of US manufacturing practices in make-to-order ma. Production and Inventory Management Journal, 36(1).