ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
-
บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
-
บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
-
มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
-
บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
-
บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)
-
บทความไม่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ หรือ ผ่านการขอจริยธรรมวิจัยในมนุษย์เรียบร้อยแล้ว
ต้นฉบับที่ส่งมาเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน ผู้เขียนสามารถจัดเตรียมต้นฉบับได้ทั้งในรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ได้ตามข้อกำหนดของวารสารฯ ดังต่อไปนี้
- บทความจัดพิมพ์ลงบนขนาดกระดาษ A4 (21×29.7 ซม.) และมีความยาวไม่เกิน 20 หน้า ให้ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นระยะขอบบน 54 ซม. ขอบล่าง 2.54 ซม. ขอบซ้าย 2.54 ซม. และ ขอบขวา 2.54 ซม.
- การพิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด (Microsoft Word) พิมพ์หน้าเดียว 1 คอลัมน์ ระยะห่างบรรทัด 1 เท่า (single space) โดยบทความภาษาไทยให้พิมพ์ด้วยรูปแบบอักษร (font) TH SarabunPSK ขนาด 16 ตัวอักษรต่อนิ้ว ทั้งอักษรภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และบทความภาษาอังกฤษให้พิมพ์ด้วยรูปแบบอักษร (font) Times New Roman ขนาด 11 ตัวอักษรต่อนิ้ว
- การใช้ภาษาไทยให้ยึดคำสะกดและคำแปลความหมายตามหลักราชบัณฑิตยสถาน โดยใช้ภาษาไทยเป็นหลัก และใช้ภาษาอังกฤษในกรณีที่ไม่มีคำสะกดในภาษาไทยหรือมีความจำเป็น การใช้ อักษรย่อ ต้องเขียนคำเต็มไว้ในการเขียนในครั้งแรกก่อน และไม่ใช้คำย่อที่ไม่เป็นมาตรฐานยกเว้นการย่อเพื่อเขียนเนื้อหาให้กระชับขึ้น การแปลศัพท์อังกฤษเป็นไทย หรือการเขียนทับศัพท์ให้ยึดตามหลักราชบัณฑิตยสถาน
- การเตรียมข้อมูลต้นฉบับบทความภาษาไทยตามที่กำหนดให้
- ชื่อบทความภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 18 หนา
- ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมเขียน ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ปกติ
- หัวข้อหลัก และหัวข้อย่อย ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 หนา
- เนื้อเรื่อง ใช้รูปแบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 ปกติ
- การเตรียมข้อมูลต้นฉบับบทความภาษาอังกฤษตามที่กำหนดให้
- ชื่อบทความ ใช้รูปแบบอักษร Times New Roman ขนาด 16 หนา
- ชื่อผู้เขียนและผู้ร่วมเขียน ใช้รูปแบบอักษร Times New Roman ขนาด 11 ปกติ
- หัวข้อหลัก และหัวข้อย่อย ใช้รูปแบบอักษร Times New Roman ขนาด 11 หนา
- เนื้อเรื่อง ใช้รูปแบบอักษร Times New Roman ขนาด 11 ปกติ
- สำหรับบทความภาษาไทย ชื่อเรื่องต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ
- ส่วนประกอบของบทความ
- บทคัดย่อ (Abstract) เขียนแสดงภาพรวมของบทความ สรุปใจความสำคัญ สำหรับบทความภาษาไทย ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- บทนำ (Introduction) เขียนให้เห็นความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย หรือโจทย์วิจัย
- วัตถุประสงค์ (Objective) ควรกล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษา
- การทบทวนวรรณกรรม (Literature Review) ที่เกี่ยวข้อง โดยมีกระบวนการสืบค้น ศึกษาทบทวน วิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่ เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาการวิจัย ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในปัญหาที่จะทำวิจัย เพื่อนำไปสู่การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยอย่างมีเป้าหมาย ชัดเจน
- วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) ระบุรูปแบบของการวิจัย การคำนวณหากลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
- ผลการวิจัย (Result) เสนอผลที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน
- สรุปและอภิปรายผล (Conclusion and Discussion) เสนอเป็นความเรียงและให้เชื่อมโยงกับผลการวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน ว่ามีความสอดคล้องและไม่สอดคล้องกับงานวิจัยของใคร เป็นไปตามแนวคิด ทฤษฎีของใคร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
- กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) (ถ้ามี) เป็นส่วนที่กล่าวขอบคุณต่อองค์กร หน่วยงาน หรือบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือร่วมมือในการวิจัย รวมทั้งแหล่งที่มาของเงินทุนวิจัย และหมายเลขของทุนวิจัย (ถ้ามี) (ให้ใส่เฉพาะกรณีที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย หรือกรณีชื่อบทความมีชื่อเรื่องไม่ตรงกับงานวิจัย วิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์)
- เอกสารอ้างอิง (References) รูปแบบการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมใช้แบบ APA (American Psychological Association) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 และจะต้องตรงกันกับการอ้างอิงในเนื้อหา ซึ่งผู้นิพนธ์บทความต้องตรวจสอบและรับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารการอ้างอิงทั้งหมด
ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าบทความนี้ไม่เคยเสนอหรือกำลังเสนอตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และยินดีให้กองบรรณาธิการวารสารโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวร เลือกสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน เพื่อพิจารณาต้นฉบับของข้าพเจ้าโดยอิสระ และ ยินยอมให้กองบรรณาธิการวารสารฯสามารถตรวจแก้ไขต้นฉบับดังกล่าวได้ตามสมควร และ ยินยอมว่าบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารฯนี้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของคณะโลจิสติกส์และดิจิทัลซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยนเรศวร