การจัดการเรียนรู้สู่ประตูมหัศจรรย์ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์: ยุคหลังโควิด

ผู้แต่ง

  • ธงชัย สมบูรณ์ Ramkhamhaeng University

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, ประตูมหัศจรรศย์, ยุคหลังโควิด

บทคัดย่อ

อุดมศึกษาถือว่าเป็นเทวาลัยแห่งการเรียนรู้ของศาสตร์ชั้นสูง (Temple of Learning) การจัดการเรียนรู้ในระดับนี้จะมีทั้งด้านวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์รวมทั้งสังคมศาสตร์เพื่อผลิตกำลังแรงงาน (Man power)ที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนารัฐชาติต่อไป มองมาถึงการจัดการเรียนรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ซึ่งเป็นอีกสาขาวิชาหนึ่งที่มีผลต่อการพัฒนารัฐชาติ ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ทางด้านนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบริหารจัดการให้มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกหลังยุคใหม่ การจัดการเรียนรู้ทางด้านวิศวกรรมต้องตระหนักถึงหลักสูตรที่เป็นวิชาชีพที่แสดงถึงสมรรถนะของผู้เรียนในการประกอบอาชีพได้ เสริมสร้างทักษะความเป็นมนุษย์ที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น การการจัดการเรียนเน้นการปฏิบัติและเรียนรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเน้นการทำโครงงานและการวิจัย ส่วนการวัดและประเมินผลต้องเน้นผลงานที่สร้างสรรและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนแบบองค์รวมและการพัฒนารัฐชาติให้มีความยั่งยืน

References

ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ. 2550. ภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา: บทบาทของครูกับ Active Learning [Online]. Available: www.pochanukul.com. (วันที่ 15 มกราคม 2565).

ธงชัย สมบูรณ์, 2565. แก่นความเป็นครูมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2548. หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพมหานคร: เฮาส์ ออฟเคอร์มีสท์.

รังสรรค์ แสงสุข, 2550. รามคำแหง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สถาพร พฤฑฒิกุล, 2558. คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้. สระแก้ว: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว

สมนึก ภัททิยธนี, 2544. การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

Brewer, L., 2013. Enhancing youth employ ability: What? Why? And How? Guide to core work skills. Geneva: ILO publications.

Donk, T., and Dell’Olio, J., 2007. Model of Teaching: Connecting Student Learning Standards. United States of America: Sage Publications Ins.

Somboon, T. and Limtasiri, O. (2016). Super Teaching Model, Journal of Teaching and Education, vol.5(2), pp. 497 – 502.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-02

How to Cite

สมบูรณ์ ธงชัย. 2023. “การจัดการเรียนรู้สู่ประตูมหัศจรรย์ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์: ยุคหลังโควิด”. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม 1 (1). Khon Kaen, Thailand:1-11. https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/67.