การศึกษาจุดร่วมและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อทักษะเชิงวิชาชีพและวิชาการกับ หลักสูตรร่วมสถานศึกษาและสถานประกอบการ (CWIE) กรณีศึกษา : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กนกลักษณ์ ตรีเดช คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาจุดร่วมและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อทักษะเชิงวิชาชีพและวิชาการหลักสูตรร่วมสถานศึกษาและสถานประกอบการ CWIE กรณีศึกษา : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาจุดดีร่วมของหลักสูตร CWIE 2) เพื่อศึกษาปัจจัยผลกระทบทักษะเชิงวิชาชีพและวิชาการของนักศึกษา CWIE ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จากการศึกษา พบว่า จุดดีร่วมของหลักสูตรสหกิจศึกษาและหลักสูตร CWIE คือ นักศึกษามีความกระตือรือร้น มุ่งมั่น ขยัน อดทน ใฝ่รู้ สนใจและตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย สามารถเข้ากับผู้อื่นและมีมนุษยสัมพันธ์ อัธยาศัยและมารยาท มีน้ำใจจิตอาสา มีความสม่ำเสมอ ทำงานเป็นทีมได้ดี ตรงต่อเวลาในการทำงาน ปัจจัยที่มีผลกระทบทักษะเชิงวิชาชีพและวิชาการของนักศึกษา CWIE  คือ ความเข้าใจหลักการ CWIE ของสถาบันอุดมศึกษา สถานประกอบการ และนักศึกษาตลอดการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการที่ดีด้านหลักสูตรการเรียนการสอน โดยให้สถาบันการศึกษาและสถานประกอบการร่วมกันออกแบบหลักสูตร การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ความรู้สู่การปฏิบัติงานได้

References

https://cwie.mhesi.go.th [Online] สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567

สมาคมสหกิจศึกษาไทย. (2552). มาตรฐานและการประกันคุณภาพการดำเนินงาน สหกิจศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. ม.ป.ท. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

กมลวรรณ แสงทอง และณัฐพงศ์ ทองเทพ. (2566). ศักยภาพของนักศึกษาสหกิจศึกษาในมุมมองของสถานประกอบการต่อการพัฒนางานสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต. Journal of Information and Learning Volume 34, Issue 3, pp.46-61.

Jamshed, S. (2014). Qualitative Research Method-interviewing and Observation. Journal of Basic and Clinical Pharmacy, 5(4), pp.87–88.

Bloor, M., Frankland, F.,Thomas, M. & Robson, K. (2001). Focus groups in social research. Thousand Oask: SAGE Publications

ภิญโญ รัตนาพันธ์. (2552). Appreciative Inquiry คืออะไรใครใช้. [Online]. www.gotoknow.org/posts/314324. สืบค้นเมื่อ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567

ประวีณา ชัยเลิศ. (2559). แนวทางการพัฒนากระบวนการนิเทศงานนักศึกษาสหกิจศึกษา โดยกระบวนการสุนทรียสาธก กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เรืองยศ วัชรเกตุ. (2553). สหกิจศึกษากับการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่ตลาดแรงงาน. วารสารนักบริหาร, 30(1), หน้า 101- 104.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29

How to Cite

ตรีเดช กนกลักษณ์. 2024. “การศึกษาจุดร่วมและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อทักษะเชิงวิชาชีพและวิชาการกับ หลักสูตรร่วมสถานศึกษาและสถานประกอบการ (CWIE) กรณีศึกษา : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น”. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และการวิจัยเชิงนวัตกรรม 2 (2). Khon Kaen, Thailand:14-20. https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/JEIRKKC/article/view/3419.