การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิก เรื่องโควิด-19

ผู้แต่ง

  • กีรศักดิ์ พะยะ ผู้ประพันธ์บรรณกิจ
  • กีรติ คีรีทองเทศ
  • ทีฆายุ แก้ววงค์

คำสำคัญ:

สื่อโมชันกราฟิก, โควิด-19, ภาษากะเหรี่ยง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อโมชันกราฟิก เรื่องโควิด-19 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อโมชันกราฟิก เรื่องโควิด-19 ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาสื่อวีดีโอโมชันกราฟิกเรื่อง โควิด-19 แบบเลือกได้ 2 ภาษา ได้แก่ ภาษากะเหรี่ยง และภาษาไทย สื่อนี้พัฒนาโดยใช้โปรแกรมการตัดต่อเสียงเอฟเฟค ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว หลังจากนั้นศึกษาหาค่าประสิทธิภาพ และความพึงพอใจของสื่อโมชันกราฟิก เรื่องโควิด-19 ที่เป็นในรูปแบบการวิจัยเชิงทดลองจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ชาวบ้านหมู่บ้านแม่ระเมิง จำนวน 30 คน โดยใช้เครื่องมือทางสถิติที่ใช้ในรูปแบบประเมินความพึงพอใจ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษา พบว่ากลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อสื่อโมชันกราฟิก เรื่องโควิด-19 ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (𝑥̅= 4.47, S.D.= 0.58) งานวิจัยนี้ส่งผลทำให้โรงพยาบาลและอนามัยในชุมชนกะเหรี่ยงตามเขตชายแดนมีความรู้ความเข้าใจของการระบาดของเชื้อไรวัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สามารถสร้างความตระหนักรู้เพื่อลดโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ และเพื่อไม่ให้ตื่นตระหนกจนเกินไป

References

จิราภรณ์ ศรีแจ่ม. (2566). วันที่ไทยรู้จัก COVID-19 สำนักพิมพ์ Thai BPS. สืบค้น 28 มีนาคม 2566. https://www.thaipbs.or.th/news/content/290347

กุลวดี กุลสุนทร, เกศรินทร์ วิงพัฒน์ และโชติ บดีรัฐ. (2566). แนวทางการดูแลผู้สูงอายุในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(11), 288-302. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/download/250032/170038/926284

วัตพล. (2566). การสุ่มตัวอย่าง (Sampling) แนะนำรูปแบบการสุ่มตัวอย่างในงานวิจัย Writer. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2566. https://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php? bookID=6055&pageid=8&read=true&count=true

วีรศักดิ์ นาชัยดี. (2566). กระบวนการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ NPRU OPEN COURSEWARE. สืบค้น 4 ตุลาคม 2566. http://courseware.npru.ac.th/admin/files/20221004100107_ e3faff1500336a180410657c13f93cc3.pdf

ปริญญา เรืองทิพย์. (ม.ป.ป.). การเลือกใช้สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยและพัฒนางานด้านนโยบายและสาธารณสุข. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา. สืบค้น 28 มีนาคม 2566. https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/08/2.1_1.pdf

กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย. (2566). การเขียนสตอรี่บอร์ด (Storyboard) Touch Point. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://touchpoint.in.th/storyboard-video-production

ณัฐวุฒิ บุญโรจน์วงค์. (2560). ความหลากหลายของคิวอาร์โค้ด. วารสารวิชาการฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 6(1). 117 -126. https://apheit.bu.ac.th/jounal/science-vol6-1/12_9_formatted%20V6-1.pdf

GTTM. (2566). ศูนย์แปล 300 ภาษา. สืบค้น 4 ตุลาคม 2566. https://www.gttm-translation.com/contact-%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2-translationcenterbangkok.html

McConville, B. (2566). The Power of Motion Graphics in Marketing. The Digital Marketing Institute. สืบค้น 4 ตุลาคม 2566. https://www.digitalmarketinginstitute.com

ปิยะธาม รุ่งสถาพร. (2561). โมชันกราฟิก เรื่องหยุด!การค้าสัตว์ป่าออนไลน์. กรุงเทพฯ: คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม.

พงษ์พิพัฒน์ สายทอง. (2560). การพัฒนาโมชันอินโฟกราฟิกเพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(2), 1330-1341.https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/98319/76531

สื่อโมชันกราฟิก โควิด-19 ผ่านเว็บไซต์ URL: https://arit.kpru.ac.th/sh/f0614e

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-08-2024