การศึกษาการชนกันของวัตถุในของเหลวด้วยโปรแกรมแทรคเกอร์สำหรับการสอนวิชาฟิสิกส์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • จันจิรา มีภิปราย
  • พิชชาภา ทองเสวตร
  • วิศัลย์ศยา นาละคร
  • สรายุทธ์ พานเทียน ผู้ประพันธ์บรรณกิจ

คำสำคัญ:

โมเมนตัมการชนกัน, ของเหลว, กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม, กฎการอนุรักษ์พลังงาน, ความหนืด

บทคัดย่อ

การศึกษาการชนกันของวัตถุในของเหลวด้วยโปรแกรมแทรคเกอร์สำหรับการสอนวิชาฟิสิกส์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเคลื่อนที่และสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุในของเหลวในแต่ละช่วงเวลาก่อนและหลังชนกันด้วยโปรแกรมแทรคเกอร์ อ้างอิงกับระบบพิกัดแบบคาร์ทีเซียน 2 มิติ และเพื่อหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์วิดีโอแทรคเกอร์ช่วยสอนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง การชนกันของวัตถุในของเหลว โดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์วิดีโอแทรคเกอร์ช่วยสอน โดยของเหลวที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ น้ำเปล่า น้ำเชื่อม และน้ำมันปาล์ม ซึ่งมีค่าความหนืดที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส เท่ากับ หาค่าไม่ได้, 2453.37 และ 84.53            มิลลิปาสคาล-วินาที ตามลำดับ วัตถุที่นำมาใช้เป็นโลหะทรงกลมมีขนาดรัศมี 3.17 x 10-3 เมตร และมวล 1.04 x 10-3 กิโลกรัม ผลการวิจัย พบว่า ความเร็วและความเร่งของการเคลื่อนที่ก่อนและหลังชนของลูกเหล็กในน้ำเชื่อม และน้ำมันปาล์มแปรผันตรงกับค่าความหนืดและเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์โมเมนตัมและกฎการอนุรักษ์พลังงาน ในส่วนการศึกษาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้ทางการ ศึกษาตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยคะแนนระหว่างเรียน (การประเมินการทดลองและแบบฝึกหัดระหว่างเรียน) และหลังเรียน (ผลการเรียนรู้) มีค่าเป็น 85.67 และ 81.98 ตามลำดับ และความเข้าใจและการนำไปใช้ ด้านทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นสูง โดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนจากแบบทดสอบก่อนเรียนสูงกว่าหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

สนธิ พลชัยยา. (2557). สะเต็มศึกษากับการคิดขั้นสูง. นิตยสาร สสวท, 42 (189), 7-8.

ปุณภวัฒน์ กาศรุณ, ชนาพร รัตนมาล, อัจฉรา คำหล้า, ธัญญ์วาริน ชูวัฒน์วรกูล และกาญจนา ทองจบ. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ในวิชาฟิสิกส์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทาง สะเต็มศึกษา เรื่อง กล่องบรรจุภัณฑ์กันกระแทก. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9 (3), 355-367.

ศิวณัฐ ภูมิโคกรักษ์. (2562). การศึกษาผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา. วารสาร ราชพฤกษ์, 17(2), 73-79.

กรวิทย์ เกื้อคลัง. (2561). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเรื่องสภาพสมดุลและสภาพยืดหยุ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 18(2), 124-135.

สุรัตน์ กาบทุม. (2562). การเคลื่อนที่ของฟองอากาศภายใต้อิทธิพลของความหนืดของของไหลและการสั่นสะเทือน สำหรับการสอนฟิสิกส์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่) [6] อัจฉราวรรณ งามญาณ. (2554). อันเนื่องมาแต่สูตรของยามาเน. วารสารบริหารธุรกิจ, 131, 46-60.

ธัญดร ออกวะลา. (2553). กลศาสตร์ของไหล. ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน. คณะวิศวกรรมศาสตร์กำแพงแสน. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, 16.

F.-L. Yang, and M. L. Hunt. (2006). Dynamics of particle-particle collisions in a viscous liquid. Phys. Fluids 18, 121506.

สุภาวรรณ สวนพลอย, วัฒนะ รัมมะเอ็ด และอารยา มุ่งชำนาญกิจ. (2558). การใช้โปรแกรมวิเคราะห์วิดีโอ แทรคเกอร์ช่วยสอนวิชาฟิสิกส์ เรื่องการเคลื่อนที่แบบคาบเพื่อเพิ่มผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กรณีศึกษาของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2558, 1293-1299.

Vera, Francisco., Rivera, Rodrigo and Fuentes, Raúl. (2013). Learning Physics with Video Analysis. Nuevas Ideas en Informática Educativa TISE.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-01-2024