การศึกษาการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในวิทยาลัยพลังงานทดแทน และสมาร์ทกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร
คำสำคัญ:
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, การดูดซับ, สมการแอลโลเมตรีบทคัดย่อ
ในวิจัยนี้นำเสนอการศึกษาการดูดซับคาร์บอนออกไซด์ในวิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ทกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณการกักเก็บคาร์บอนและศักยภาพการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ในศักยภาพการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และสำรวจชนิดต้นไม้และเป็นฐานข้อมูลในระบบไปใช้ประโยชน์ในโอกาสต่อไป ซึ่งในวิจัยนี้จะมีการสำรวจต้นไม้เพื้อวัดขนาดเส้นรอบวง ระยะ และมุมเพื่อหาค่าการดูซับของต้นไม้โดยแบ่งเป็นโซน A B C และ D รวมทั้งหมด 580 ต้น ในแต่ละต้นก็มีค่าดูดซับที่แตกต่างกันตามแต่ขนิดพันธุ์ไม้ อีกทั้งยังสำรวจการใช้ยานพาหะภายในวิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ทกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร มาคำนวนหาค่าการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อเปรียบเทียบการดูดซับและการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ว่าต้นไม้ทั้งหมดสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากการปลดปล่อยซับคาร์บอนไดออกไซด์ของยานพาหนะภายในวิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ทกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ทั้งหมดหรือไม่
จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า การหาค่าการดูดซับคาร์บอนโดยใช้สูตรสมการแอลโลเมตรีประเมินมวลชีวภาพจำแนกตามชนิดป่าจะได้ค่าดูดซับของต้นไม้แต่ละต้นก็จะได้ 257.2405797 กิโลกรัมต่อปี และการเก็บข้อมูลการใช้ยานพาหนะภายในวิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ทกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร และนำข้อมูลมาคำนวนโดยอ้างอิงจากแบบฟอร์มการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและ Emission Factor จะได้ค่าการปลดปล่อยพลังงานจากยานพาหนะชนิดต่างๆ เป็นเวลา 7 วันรวมทั้งหมด 11.66704764 กิโลกรัม เฉลี่ยวันละ 1.666721092 กิโลกรัม คิดเป็น 435.014205012 กิโลกรัมต่อปี การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้สามารถดูดซับคาร์บอนได้ 59% ของการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากยานพาหนะ โดยค่าความต่างระหว่างคือดูดซับและการปลดปล่อยคือ 177.7736253 กิโลกรัม
References
ชัญษา กันฉิ่ง และคณะ. (2559). “การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของพืชที่มีเนื้อไม้ ป่าชุมชนห้วยข้าวก่ำ อําเภอจุน จังหวัดพะเยา วิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา”, ในการประชุมวิชาการการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2559, วันที่ 15-17 มิถุนายน 2559 ณ โรงแรมดิอิมเพรส น่าน, จังหวัดน่าน.
ถิรายุ เกลี้ยงสอาด, ลดาวัลย์ พวงจิตร และวาทินี สวนผกา. (2563). การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ในสวนสันติภาพ กรุงเทพมหานคร. วารสารวนศาสตร์ไทย. 39(1), 86-96.
ปรัชญา แผ้วพลสง และเศรษฐ์หิรัญ นาคสุข. (2561). การกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.บทความวิจัย วิทยาศาสตรบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วสันต์ จันทร์แดงและคณะ. (2560). การกักเก็บคาร์บอนและการประเมินผลประโยชน์ร่วมของพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าเศรษฐกิจ ณ สถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. รายงานการวิจัย
คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วสันต์ จันทร์แดง, ลดาวัลย์ พวงจิตร และสาพิศ ดิลกสัมพันธ์. (2553). การกักเก็บคาร์บอนของป่าเต็งรังและสวนป่ายูคาลิปตัส ณ สวนป่ามัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. วนศาสตร์. 29(3), 36-44.
วิจารณ์ มีผล. (2553). การเก็บกักคาร์บอนของป่าชายเลน บริเวณพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง. วารสารการจัดการ
ป่าไม้. 4(7), 29-44.
สมชาย นองเนือง, สุนทร คำยอง, เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง และนิวัติ อนงค์รักษ์. (2555). การกักเก็บคาร์บอนใน
มวลชีวภาพของต้นไม้ในสวนป่าสนสามใบ หน่วยจัดการต้นน้ำบ่อแก้ว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวนศาสตร์.
(2), 1-15.
สถาบันลูกโลกสีเขียว. (ม.ป.ป.). การกักเก็บคาร์บอน สืบค้นเมื่อ15 กุมภาพันธ์ 2565
จาก https://www.greenglobeinstitute.com/Upload/CarbonCreditReference/Carbon%20Measu
rement%20Training.pdf
วิษณุ ผลโพธิ์. (2559). คู่มือการจัดทำข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกระดับเมือง องค์การบริหาร จัดการก๊าซ เรือนกระจก (องค์การมหาชน)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (ม.ป.ป.). แบบฟอร์มการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก สืบค้นเมื่อ15 กุมภาพันธ์ 2565 สืบค้นได้ จาก https://www.lib.ku.ac.th/kugreenlibrary/images/download/f02.xls
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย