การศึกษาผลของการเผาที่มีต่อสมบัติทางกายภาพของควอตซ์ธรรมชาติจาก ตำบลเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ธัญวรรณ จันทา
  • ทิฆัมพร พรมฉวี
  • กันตพัฒน์ กิตติอัชวาลย์ ผู้ประพันธ์บรรณกิจ
  • วัลย์ลิกา สุขสำราญ

คำสำคัญ:

ควอตซ์, การเผา, สมบัติทางกายภาพ

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพของการเผาควอตซ์ธรรมชาติจากเขาพระงาม ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ก่อนและหลังการเผา และหาอุณหภูมิที่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณภาพควอตซ์ธรรมชาติโดยการเผา ผู้วิจัยได้นำตัวอย่างควอตซ์ธรรมชาติจากท้องถิ่นมาเผาที่อุณหภูมิ 200, 400, 600, 800 และ 1,000 องศาเซลเซียส อุณหภูมิละ 2 ตัวอย่าง เป็นระยะเวลา 1ชั่วโมง แล้วนำควอตซ์ที่ได้มาทดสอบสมบัติทางกายภาพเปรียบเทียบกับควอตซ์ที่ไม่ได้เผา เช่น ความถ่วงจำเพาะ ความแข็ง รูปแบบผลึก ค่าดัชนีหักเห และคุณสมบัติทางแสง ผลที่ได้พบว่า ความถ่วงจำเพาะ 2.64 วัดความแข็งได้ 7.5 ค่าดัชนีหักเหมีค่าใกล้เคียงกับทฤษฎีคือ 1.544 และ พบธาตุองค์ประกอบ SiO2 และการดูดกลืนแสงที่ไวที่สุดอยู่ที่ 482 นาโนเมตร และ 478 นาโนเมตร สรุปได้ว่าควอตซ์ที่เผาที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส มีความใสและสมบัติทางกายภาพใกล้เคียงกับควอตซ์ธรรมชาติมากที่สุด

References

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ. “สถานการณ์การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย.” 2562.

ศิวาพร สหวัฒน์. “อัญมณีศาสตร์” กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2564.

Thongnopkun P. “Color Change of Green Tourmaline from Madagascar by Heat Treatment, Gems and Jewelry Research Unit, Faculty of Gems." Burapha University Chanthaburi Campus. 2017.

กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม. “แร่.” พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์, 2520.

กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ (องศาเซลเซียส) และค่าการดูดกลืนแสง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-09-2022