สีสกัดจากฝางและอัญชันสำหรับการย้อมสีเนื้อเยื่อพืชแบบย้อมทับ

ผู้แต่ง

  • นภัสสรณ์ กุยวารี
  • อรวรรณ วนะชีวิน ผู้ประพันธ์บรรณกิจ

คำสำคัญ:

สีย้อมธรรมชาติ , การย้อมสีควบคู่ , ฝาง, อัญชัน, เนื้อเยื่อพืช

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของสีสกัดธรรมชาติจากแก่นฝาง (Biancaea sappan (L.) Tod.) และดอกอัญชัน (Clitoria ternatea L.) ในการย้อมสีเนื้อเยื่อพืชแบบควบคู่ ในตัวอย่างเนื้อเยื่อพืชส่วนลำต้นของพืช 2 ชนิดคือหมอน้อย (Cyanthillium cinereum (L.) H. Rob.)  และหญ้าขน (Urochloa mutica (Forssk.) T.Q.Nguyen) เป็นแนวทางในการใช้สีย้อมธรรมชาติในการทดแทนสีย้อมสังเคราะห์สำหรับการย้อมตัวอย่างเนื้อเยื่อพืชทั้งรูปแบบตัวอย่างสด และตัวอย่างสไลด์ถาวร ในการศึกษาทำการสกัดสีจากแก่นฝางด้วยน้ำกลั่น และสีจากดอกอัญชันด้วย     เอทานอลเข้มข้น 95% ในอัตราส่วนตัวอย่างต่อตัวทำละลาย 1:10 (W/V) สีสกัดที่ได้จากฝาง และอัญชันมีค่าความเป็นกรด - ด่างอยู่ในช่วง 5.38 – 5.40 และ 7.03 – 7.19 ตามลำดับ ผลการติดสีพบว่าสีสกัดจากฝางติดเนื้อเยื่อชัดเจนบริเวณไซเลม และสีของอัญชันติดชัดเจนบริเวณเนื้อเยื่อพื้น การย้อมสีสกัดจากธรรมชาติทั้ง 2 ชนิดควบคู่กันพบว่าสามารถใช้ควบคู่กันได้ดีในระดับปานกลาง เนื่องจากสีสกัดให้ผลการติดสีเนื้อเยื่อพืชในบริเวณที่แตกต่างกันทำให้สามารถมองเห็นความแตกต่างของเนื้อเยื่อได้ แต่ยังให้ความเข้มของสีอ่อนกว่าการย้อมด้วยสีซาฟรานินโอควบคู่กับสีฟาสต์กรีน  

References

มยุรี คุณิรัตน์ แพรวพรรณ ดวงไข สุชยา วิริยะการุนย์ และศิวพร หอมหวล. (2557). การสกัดและประยุกต์ใช้สีย้อมธรรมชาติจากพืชในท้องถิ่นสำหรับย้อมเนื้อเยื่อพืช. [โปสเตอร์นำเสนอ] การประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12 กุมภาพันธ์ 2557, อุบลราชธานี

มานิต คิดอยู่. (2552). สีย้อมธรรมชาติจากฝางสำหรับการศึกษาเซลล์และเนื้อเยื่อพืช. วารสารพฤกษศาสตร์ไทย, 1(2), 61-70.

วันเพ็ญ แก้วพุก. (2558). การศึกษาสารสกัดสีธรรมชาติจากพืชเพื่อการย้อมสีโครโมโซม สำหรับห้องปฏิบัติการชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 7, 30 – 31 มีนาคม 2558, นครปฐม.

พิมพ์ชนก สำเริงเวทย์ และวรพันธ์ อินตารักษา. (2555). การศึกษาสีย้อมเนื้อเยื่อตัดตามขวางของลำต้นหญ้าละอองที่สกัดจากพืชธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น. (โครงงานวิทยาศาสตร์). โรงเรียนจักรคำคณาทร. ลำพูน

จิดาภา บุญพัทธ์ อิสรีย์ ปั้นก้อง และธีรารัตน์ แช่มชัยพร. (2562). การสกัดสีธรรมชาติจากพืชกลุ่มแอนโทไซยานิน เพื่อใช้ในการย้อมสีโครโมโซมจากปลายรากหอม. งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 11, 11 - 12 กรกฏาคม 2562, นครปฐม

นฤมล อัศวเกศมณี. (2549). การเก็บรักษาตัวอย่างพืชและสัตว์. สงขลา: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

พรรณวิภา แพงศรี และลัดดาวัลย์ กงพลี. (2564). การพัฒนาสีย้อมธรรมชาติจากพืชในกลุ่มแอนโทไซยานินเพื่อใช้สำหรับย้อมเนื้อเยื่อพืช. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 5(1), 1-11.

Dapson, R. W., & Bain, C. L. (2015). Brazilwood, sappanwood, brazilin and the red dye brazilein: from textile dyeing and folk medicine to biological staining and musical instruments. Biotechnic & Histochemistry, 90(6), 401-423.

พงศ์พันธุ์ กองทอง. (2538). ไมโครเทคนิค. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงจันทร์การพิมพ์

ผลการย้อมสีลำต้นหมอน้อยตัวอย่างสด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-07-2023