การมีส่วนร่วมการจัดการน้ำชลประทานเพื่อการเกษตร กรณีศึกษาตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ตุลาภรณ์ จีนเฮง
  • ขวัญชัย ชัยอุดม ผู้ประพันธ์บรรณกิจ

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การจัดการน้ำชลประทาน , การเกษตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ และความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วมการจัดการน้ำชลประทานเพื่อการเกษตร: กรณีศึกษา ตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรที่ใช้น้ำชลประทานเพื่อการเกษตร จำนวน 149 คน และนำมาหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และหาความสัมพันธ์ค่าสัมประสิทธิ์แบบเพียร์ ผลการศึกษา พบว่า การมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำชลประทานเพื่อการเกษตร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยแบ่งออกเป็น 1) การมีส่วนร่วมด้านการเสนอความคิด การวางแผน และการตัดสินใจ 2) การมีส่วนร่วมด้านการดำเนินการ และปฏิบัติ และ3) การมีส่วนร่วมด้านการติดตามและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.35 3.28 และ 3.13 ตามลำดับ สำหรับความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา พื้นที่ประกอบทางการเกษตร ความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมการจัดการน้ำชลประทานเพื่อการเกษตร แต่รายได้การใช้ประโยชน์จากน้ำ ทัศนคติต่อการจัดการทรัพยากรน้ำ และความพึงพอใจต่อการจัดการทรัพยากรน้ำมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมการจัดการน้ำชลประทานเพื่อการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01

References

กรมชลประทาน. (2560). สถานการณ์น้ำ. สืบค้น พฤศจิกายน 14, 2560 จาก https://www1.rid.go.th/index.php/th/

จักรพัน ศรีสุวรรณ์. (9 กันยายน 2560). ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7. สัมภาษณ์.

สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: สถาบันราชภัฏเทพสตรี.

สำนักงานทะเบียนเกษตรกรกลาง. (2560). จำนวนประชาชนและเกษตรกรหมู่บ้าน 3-7. ลพบุรี: ที่ว่าการอำเภอเมือง. จังหวัดลพบุรี.

เรวัตร ยอดสุรางค์. (2556). การศึกษาปัจจัยในการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อโครงการจัดการทรัพยากรประมงบริเวณอ่างเก็บน้ำทับทิมสยาม 01 จังหวัดตราด. สืบค้นเมษายน 20, 2565, จาก https://www4.fisheries.go.th/doffile/fkey/ref67111

วิษณุ หยกจินดา. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน หมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชา การจัดการภาครัฐและเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไกรสร เพ็งสกุล. (2551). รายงานการวิจัยเรื่อง การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ: กรณีศึกษา ลุ่มน้ำสาขาคลองปะเหลียนจังหวัดตรัง. สงขลา: กรมทรัพยากรน้ำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

ชลธิชา โพธิ์ทักษ์. (2559). รายงานวิจัย เรื่อง การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำของประชาชนในเขื่อนป่า-สักชลสิทธิ์ กรณีศึกษาตำบลคำพราน อำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี. ลพบุรี: สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สุธรรมา จันทรา. (2556). รายงานการวิจัย เรื่อง การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการทรัพยากรน้ำจากโครงการชลประทานแม่น้ำชี: กรณีศึกษาโครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า บ้านกุดแข้ จังหวังร้อยเอ็ด. กรุงเทพ: สาขาสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยมหิดล.

พัดสะหวัน ไชยะวง และบัญชา ขวัญยืน. (2556). รายงานการวิจัย เรื่อง การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้น้ำในการจัดการชลประทาน: กรณีศึกษาโครงการหนองแดง อำเภอเมืองจังหวัดสาระวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. กรุงเทพฯ: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

การวิเคราะห์ความสัมพันธ์หาปัจจัยที่มีผลต่อระดับการมีส่วนร่วมการจัดการน้ำชลประทานเพื่อการเกษตร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-07-2023