ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจรับวัคซีนและอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน โรคระบาดไวรัส Covid-19 ของประชาชนในจังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
โควิด-19, อาการไม่พึงประสงค์, การฉีดวัคซีน, การตัดสินใจบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตัดสินใจและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเข้ารับการฉีดวัคซีนโคโรนาไวรัส (Covid-19) ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกชนิดของวัคซีนกับช่วงอายุ และอาการไม่พึงประสงค์หลังการฉีดวัคซีน Covid-19 ของประชาชนในจังหวัดเพชรบูรณ์ ดำเนินการเก็บข้อมูลจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจากประชาชนในจังหวัดเพชรบูรณ์โดยแบบสอบถามออนไลน์ให้กลุ่มตัวอย่าง (Google form) จำนวน 353 คน จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 20 - 27 ปี ร้อยละ 55.5 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 38.8 และเหตุผลของกลุ่มตัวอย่างที่มีความประสงค์เข้ารับการวัคซีน Covid-19 คือเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ ร้อยละ 87.0 ส่วนกลุ่มคนที่ไม่มีความประสงค์รับวัคซีน Covid-19 เหตุผลส่วนใหญ่คืออยู่ในพื้นที่มีความเสี่ยงต่ำ ร้อยละ 42.9 สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับวัคซีนแล้วอาการไม่พึ่งประสงค์ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นคือ อาการปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน Covid-19 คิดเป็นร้อยละ 18.0
ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกรับวัคซีนทั้ง 4 กลุ่ม พบว่า มีเพียงวัคซีนกลุ่มที่ 2 (วัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ) เท่านั้นที่การตัดสินใจเข้ารับขึ้นอยู่กับช่วงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนการเลือกเข้ารับวัคซีนกลุ่มที่ 1, 3 และ 4 ไม่ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
References
World Health Organization. (2021).. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard [updated 2021 Apr 13 ; cited 2021 Apr 14]. Available from: https://covid19.
World Health Organization. (2020). Coronavirus disease 2019 (covid-19) situation report35. Retrived May 23, 2020, from https://www.who.int/docs/defaultsource/coronaviruse/situation-reports/20200224-sitrep-35-covid19.pdf?sfvrsn=1ac4218d_2.
กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดปี 64 ของประเทศไทย. กรมควบคุมโรค.
ขนิษฐา ชื่นใจ และบุฏกา ปัญฑุรอัมพร. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส (Covid-19) ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. Retrived May 21, 2020, from chrome-extension:// efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin-9/6214154037.pdf.
World health organization. (2020). Behavioural consideration for acceptance and uptake of covid-19 vaccines.Genava: World health organization.
ปณิตา ครองยุทธ, จินดา คำแก้ว, ปฐวี สาระติ, และวิรินรัตน์ สุขรี. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง อำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี (สารนิพนธปริญญามหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี.
Nzaji M., Ngombe L., Mwamba G., Ndala B., Miema M.J., Lungoyo L.C,. et al. (2020). Acceptability of Vaccination Against COVID-19 Among Healthcare Workers in the Democratic Republic of the Congo. Pragmatic and/Observational Research journal. 11, 103-109.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). การบริหารการตลาด. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชิ้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid 19) หรือ (ศบค.). (2564). ข้อมูลสถิติผู้ติดเชื้อโควิด-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564. จาก https://www.moicovid.com/.
มนัสนันท์ ลิมปวิทยากุล และพาหุรัตน์ คงเมือง ทัยสุวรรณ์. (2558). การรับรู้ความเสี่ยงและการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยง. สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพกรมควบคุม โรค, กระทรวงสาธารณสุข.
ชุติมา บุญทวี. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโคโคนาไวรัส (COVID-19) เข็มกระต้นของบุคลากรกลุ่มงานพยาบาลโรงพยาบาลตำรวจ. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2565. หน้า 49-60.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย