การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กราฟของฟังก์ชันกำลังสอง โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ เชิงรุกร่วมกับแอปพลิเคชัน Desmos ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปทุมวิิไล
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, แอปพลิเคชัน Desmosบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียน โดยใช้กระบวนการวิธีการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับแอปพลิเคชัน Desmos ในการเรียนรู้กราฟของฟังก์ชันกำลังสองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้ผ่าน วิธีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ร่วมกับแอปพลิเคชัน Desmos ในหัวข้อเดียวกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 45 คน จากโรงเรียนปทุมวิไล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปทุมธานี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 10 ข้อ และ 2) แบบสอบถาม
ความพึงพอใจจำนวน 21 ข้อ โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าเฉลี่ย 95.3% และระดับความพึงพอใจเฉลี่ยของนักเรียนอยู่ที่ 4.49 (S.D. = 0.69) ซึ่งแสดงถึงความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับคำถามที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การเรียนรู้วิธีการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่ร่วมกับแอปพลิเคชันเดสมอสเหมาะสมกับเนื้อหาวิชา โดยมีระดับความพึงพอใจอยู่ที่ 4.68 (S.D. = 0.60) ขณะที่คำถามที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การช่วยให้นักเรียนกล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น โดยมีระดับความพึงพอใจ 4.26 (S.D. = 0.77) ซึ่งแสดงถึงความพึงพอใจ
ในระดับมากแต่ยังมีพื้นที่สำหรับการพัฒนา การวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ร่วมกับแอปพลิเคชันเดสมอสการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียน ซึ่งอาจส่งผลดี
ต่อการพัฒนาวิธีการสอนในอนาคต
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2020). หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนา ทักษะด้านโค้ดดิ้งสู่สังคมดิจิทัลในอนาคต. แหล่งที่มา: ออนไลน์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
ศิริพร มโนพิเชฐวัฒนา. (2547). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์บูรณาการที่เน้นผู้เรียนมี ส่วนร่วมในการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น เรื่อง ร่างกายมนุษย์. ปริญญานิพนธ์ กส.ค. (วิทยาศาสตร์ศึกษา), กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย.
จรรยา ดาสา. (2552). 15 เทคนิคในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนเชิงรุก. วารสาร สสวท., 36(163), 72-76.
Bonwell, C.C., & Eison, J.A. (1991). Active learning: Creative excitement in the classroom. ASHE-ERIC Higher Education Reports No. 1. Washington, D.C.
สุคนธ์ธา ธรรมพุทโธ. (2552). ผลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเชิงวิธีการที่เน้นกระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาทักษะ การแก้ปัญหา ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อ ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความเชื่อมั่นในตนเอง ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ. (ปริญญานิพนธ์
กศ.ม. (การมัธยมศึกษา)).
McAlpine, I. (2000). Collaborative learning online. Distance Education, 21(1), 66-80.
Kim, N. J. (2017). Enhancing students’ higher order thinking skills through computer-based scaffolding in problem-based learning (A dissertation submitted in partial fulfillment of the requirements for the degree). Utah State University.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ออนไลน์.
ยุพิน พิพิธกุล. (2545). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: บพิทการพิมพ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย