ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบฟีนอลิกรวมในสารสกัดใบอ่อนและใบแก่ของกาแฟโรบัสต้าเก็บจากสวนกาแฟในอำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร และสารสกัดใบอ่อนและใบแก่ของกาแฟอาราบิก้า เก็บจากสวนกาแฟในอำเภอเมือง จังหวัดตาก
คำสำคัญ:
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม, กาแฟโรบัสต้า, กาแฟอาราบิก้าบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมในสารสกัดใบกาแฟจากสายพันธุ์โรบัสต้า (ใบอ่อน) สายพันธุ์โรบัสต้า (ใบแก่) สายพันธุ์อาราบิก้า (ใบอ่อน) และสายพันธุ์อาราบิก้า (ใบแก่) โดยสกัดด้วย 65% เอทานอล แล้วนำไประเหยแห้งเอาตัวทำละลายออก สารสกัดสายพันธุ์อาราบิก้า (ใบแก่) มีร้อยละผลผลิตมากที่สุด เท่ากับ 13.23 โดยน้ำหนัก ขณะที่สายพันธุ์โรบัสต้า (ใบอ่อน) มีร้อยละผลผลิตน้อยที่สุด เท่ากับ 2.44 โดยน้ำหนัก นำไปทดสอบฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay โดยใช้บีเอชที (BHT) เป็นสารมาตรฐาน พบว่า สายพันธุ์โรบัสต้า (ใบแก่) ให้ฤทธิ์สูงสุด โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 11.397 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และสารสกัดสายพันธุ์อาราบิก้า (ใบอ่อน) ให้ฤทธิ์ต่ำสุด โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 57.053 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อศึกษาสารประกอบ ฟีนอลิกรวม พบว่า สารสกัดสายพันธุ์โรบัสต้า (ใบอ่อน) มีปริมาณสูงที่สุด คือ 558.54 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิกต่อกรัมของสารสกัด
References
ภักดี มะนะเวศ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อกาแฟที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม. วารสารรัชต์ภาคย์, 11(24), 86-100.
ฉันทนา ปาปัดถา. (2023). การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการ ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของกาแฟและดอกกาแฟอาราบิก้าของวิสาหกิจชุมชนน้ำหนาวอาราบิก้า จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 7(2).
พัทธชัย ปิ่นนาค, ธัญญ์นรี จิณะไชย, สุพิชญา เกษร และอาลิตา มาคูณ. (2563). ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในเปลือกกาแฟเชอร์รี่และดอกกาแฟในระบบวนเกษตรของจังหวัดอุตรดิตถ์.วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์, (1), 61-70.
Thi Minh Thu Nguyena, Eun Jin Chob, Younho Songb, Chi Hoon Oha, Ryo Funadac, Hyeun-Jong Bae. (2019). Use of coffee flower as a novel resource for the production of bioactive
compounds, melanoidins, and bio-sugars. Food Chemis, 299(1), 1-8. DOI:10.1016/j.foodchem.2019.125120.
เกดริน. (30 สิงหาคม 2556). ขุมทรัพย์จากต้นกาแฟ. โพสต์ทูเดย์. https://www.posttoday.com/lifestyle/243855
Sujitra Ratanamarno, Sunate Surbkar. (2017). Caffeine and catechins in fresh coffee leaf (Coffea arabica) and coffee leaf tea. Maejo International Journal of Science and Technology, 11(03), 211-218.
บุหรัน พันธุ์สวรรค์. (2556). อนุมูลอิสระสารต้านอนุมูลอิสระและการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูล
อิสระ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 21(3), 277-278.
Pokorny, J., Yanishlieva, N., & Gordon, M. H. (Eds.). (2001). Antioxidants in food: practical applications. CRC press.
Hip Seng Yim, Fook Yee Chye, Vigneswara Rao, Jia Yin Low, Patricia Matanjun, Siew Eng How, Chun Wai Ho. (2013). Optimization of extraction time and temperature on antioxidant activity of Schizophyllum commune aqueous extract using response surface methodology. Journal of Food Science and Technology, 50(1), 275-283.
พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และ นิธิยา รัตนาปนนท์. (2561). Phenolic compounds /สารประกอบฟีนอล. ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหาร. http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2585/ phenoliccompounds-สารประกอบฟีนอล.
ชุษณา เมฆโหรา. (2558). กาแฟเพื่อสุขภาพ. อาหาร, 45(4), 15-21.
Kristiningrum, N., Cahyanti, Y. N., & Wulandari, L. (2017). Determination of total phenolic content and antioxidant activity in methanolic extract of Robusta and Arabica coffee leaves. UNEJ e-Proceeding, 96-99.
เยาวดี รุ่งเรือง และสุพิชญา จันทะชุม. (ม.ป.ป.). กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัด
คลอโรฟิลล์ ด้วยเอทานอลจากผักเหมียง. ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะอุตสาหกรรม
การเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Kurang, R. Y., & Kamengon, R. Y. (2021). Phytochemical and antioxidant activities of Robusta coffee leaves extracts from Alor Island, East Nusa Tenggara. In AIP Conference Proceedings, 2349(1). https://doi.org/10.1063/5.0051835
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย