การประยุกต์ใช้สารไกลโฟเซตเป็นสารพรีทรีตเมนต์ในการศึกษาการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส ในทานตะวัน

ผู้แต่ง

  • กฤษฎิ์พงศ์ ภาษิตวิไลธรรม ผู้ประพันธ์บรรณกิจ
  • จารุวรรณ เนื้อทอง

คำสำคัญ:

ไกลโฟเสท, สารพรีทรีตเมนต์, การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส, ทานตะวัน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ หาระยะเวลาของการทำพรีทรีตเมนต์ด้วยสารละลายไกลโฟเซตที่เหมาะสมต่อการศึกษาการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสของทานตะวันด้วยวิธีการทำพรีทรีตเมนต์ โดยวางแผนการทดลองแบบแบบสุ่มสมบรูณ์ (Completely Randomized Design; CRD) จำนวน 3 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัวอย่าง มีปัจจัยศึกษา 1 ปัจจัยคือ ระยะเวลาของการทำพรีทรีตเมนต์ 4 กรรมวิธี ได้แก่ 0 ชั่วโมง, 1 ชั่วโมง, 2 ชั่วโมง และ 3 ชั่วโมง โดยใช้พืชตัวอย่างคือ ทานตะวัน (Helianthus annuus L.) พบว่า ระยะเวลาของการทำพรีทรีตเมนต์ ที่แตกต่างกันมีผลต่อค่าเฉลี่ยร้อยละของการยับยั้งการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสของทานตะวันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % โดยพบว่า กรรมวิธีการพรีทรีตเมนต์ด้วยสารละลายไกลโฟเซตเป็นระยะเวลา 2 ชั่วโมง ให้ผลค่าร้อยละของการยับยั้งการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสของทานตะวันมากที่สุดคือ ร้อยละ 65.00 ± 5.00 ในขณะที่ กรรมวิธีควบคุมซึ่งใช้น้ำกลั่น ไม่ทำให้เกิดการยับยั้งการแบ่งเซลล์ (ร้อยละ 0) นอกจากนี้ยังพบว่า ค่าคะแนนของการยับยั้งการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสของทานตะวันที่เกิดจากการใช้สารละลายไกลโฟเซตเป็นสารพรีทรีตเมนต์ในระยะเวลาที่แตกต่างกันทั้ง 3 กรรมวิธี ให้ค่าที่เท่ากันคือ 3 คะแนน ดังนั้นการวิจัยนี้ จึงสรุปว่า สารไกลโฟเซต สามารถใช้เป็นสารพรีทรีตเมนต์ในการศึกษาการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสในทานตะวันได้

References

ทศพล พรพรหม. 2547. สารป้องกันกำจัดวัชพืช : หลักการและกลไกลการทำลายพืช. (พิมพ์ครั้งที่ 2).

กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แสงแดด. 405 หน้า

อดิศร กระแสชัย. 2539. บทปฏิบัติการ Cytogenetics in Agriculture. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 125 หน้า.

Okan Acar, .Sefer Demirbas,, Dogan Ilhan and Nagme Ozdinc. (2010). The Effects Of Glyphosate

Isopropylamine on Mitotic Activity, Superoxide Dismutase and Peroxidase Activities of

Allium cepa L. Root Tip Cells. Fresenius environmental bulletin, 19(3), 522-525.

N.N. Swamy and Shobha Jagannath (2012). Cytological studies on the effect of a herbicide, oxadiargyl on root meristemlls of sunflower, Helianthus annuus L.. Nature Environment and

Pollution Technology, 11(3), 511-514.

Roberto Gomes Vital, Adriano Jakelaitis, Alan Costa and F.B. SILVA. (2010). Sunflower plant

response to simulated drift of glyphosate and trinexapac-ethyl. Planta Daninha, 35, 1-13.

การยับยั้งการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสของทานตะวัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2024