การพัฒนาไข่ขาวต้มพร้อมทานเสริมสารสกัดจากผักแพวแดงสำหรับผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, ไข่ขาว, ผักแพวแดง, สารสกัดบทคัดย่อ
ผู้สูงอายุมีข้อจำกัดในเรื่องการบริโภคเนื่องจากสุขภาวะของร่างกาย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดในการพัฒนาอาหารสำหรับผู้สูงอายุจากไข่ขาวต้มเสริมสารสกัดจากพืช โดยทำการศึกษาวิธีการสกัดสารสำคัญจากผักแพวแดง ตัวทำละลายที่เหมาะสม วิเคราะห์ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส และวิเคราะห์โภชนาการของผลิตภัณฑ์ จากการศึกษาพบว่าการสกัดด้วยไมโครเวฟ ใช้กำลังไฟ 300 วัตต์ เวลาในการสกัด 15 นาที และใช้แอลกอฮอล์ 35% เป็นตัวทำละลาย เป็นสภาวะการสกัดที่เหมาะสม มีปริมาณโพลีฟีนอลและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ เท่ากับ 81.97± 0.73 µg GAE/ml และ 61.72± 0.87 % ตามลำดับ การทำแห้งสารสกัดโดยวิธีทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง การใช้แลคโตส 15% ได้ปริมาณผลผลิตสูงสุด รองลงมาคือ มอลโตเดกซ์ตริน 15% มีผลผลิต เท่ากับ 13.83±0.04% และ 13.17± 0.01% ตามลำดับ ในขณะที่มอลโตเดกซ์ตริน 15% มี aw ต่ำที่สุด เท่ากับ 0.05±0.00 เมื่อนำสารสกัดผักแพวแดงมาเติมในผลิตภัณฑ์ไข่ขาวต้มทั้งหมด 4 สูตร ในปริมาณ 5% และทดสอบกับผู้สูงอายุ (60-85) ปี พบว่า สูตรที่มีการเติมสารสกัดและปรุงรสพะโล้ได้รับคะแนนความชอบมากที่สุด จากนั้นนำไปวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ พบว่า มีพลังงานต่อ 100 กรัม เท่ากับ 105.95±0.50 กิโลแคลอรี่ และมีปริมาณโปรตีน 9.24± 0.35% ไขมัน 0.03± 0.01% คาร์โบไฮเดรต 17.18 ±0.19% เถ้า 1.41± 0.01% และความชื้น 72.14± 0.13% ตามลำดับ
References
วนิดา เทวารุทธิ์ ชิติสรรค์กุล. ไข่ขาวดีต่อสุขภาพอย่างไร. สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สืบค้น 20 เมษายน 2567 จาก Food 47-1 PAGE 1-80 final2.pdf (arda.or.th)
Capasso, A & Feo, V.A. (2002). Central nervous system pharmacological effects of plants from northern Peruvian Andes: Valeriana adscendens, Iresine herbstii and Brugmansia arborea. Pharmaceutical Biology. 40:274-293.
Chaudhuri, D & Sevanan, M. (2012). Investigation on phytochemicals and antibacterial activity of the leaf and stem extracts of Iresine herbstii. International Journal of Pharma and Bio Sciences. 3(4): 697–705.
Singleton, V.L., Orthofer, R., Lamuela-Raventos, R.M. & Lester, P. (1999). Analysis of total phenols and other oxidation substrates and antioxidants by means of Folin-ciocalteu reagent. Method Enzymol. 229: 152-178.
Brand-Williams, W., Cuvelier, M.E. & Berset, C. (1995). Use of a free radical method to evaluate antioxidant activity. LWT. 28: 25-30.
AOAC. (2019). Official Methods of Analysis. 3rd Ed. Association of Official Analytical Chemists, Washington, DC, USA.
Takeuchi, T., Pereira, C., Maróstica, M., Braga, M., Leal, P. & Meireles, A. (2009). Low-pressure solvent extraction (Solid-Liquid Extraction, Microwave Assisted and Ultrasound Assisted) from Condimentary Plants” Chapter 4 in Exctracting Bioactive Compounds for Food Products 1st Edition. (Edited by Angela Meireles). CRC Press, Boca Raton, FL. ISBN- 13: 978-1-4200-6237-3.
Meredith, R. (1998). Engineers’ handbook of Industrial Microwave Heating, Institution of Engineering and Technology, London, United Kingdom.
กาญจนา นาคประสม จตุรภัทร วาฤทธิ์ อุมาพร อุประ หยาดฝน ทะนงการกิจ และนักรบ นาคประสม. (2560). สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารประกอบฟีนอลิครวม จากดอกบัวหลวง โดยใช้เทคนิคสกัดด้วยไมโครเวฟ วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 45(2): 328-342.
Aourach, M., González-de-Peredo, A. V., Vázquez-Espinosa, M., Essalmani, H., Palma, M., & Barbero, G. F. (2021). “Optimization and comparison of ultrasound and microwave-assisted extraction of phenolic compounds from cotton-lavender (Santolina chamaecyparissus L.),” Agronomy 11(1), 84. DOI: 10.3390/agronomy11010084
กรองกาญจน์ กิ่งแก้ว. การสกัดสารด้วยไมโครเวฟ. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย วว. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2567 จาก tistr-stjn_3803-04.pdf
Wongsa, P., Chaiwarit, J. & Zamaludien, A. (2012). In vitro screening of phenolic compounds, potential inhibition against α-amylase and α-glucosidase of culinary herbs in Thailand. Food Chem. 131: 964–971.
Roos, Y. H. (2002), Importance of glass transition and water activity to spray drying and stability of dairy powders. Lait. 82: 475-484.
Putthawan. P., Prompanya. B. & Promnet. S. (2021). Extraction, biological activities and stability of Hylocereus polyrhizus peel extract as a functional food colorant and nutraceutical. TJPR. 20(8): 1683-1690.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย