ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลากับการลดลงของอุณหภูมิร่างกายและปัจจัยที่มีผลต่อ ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติหลังจากการวางยาสลบและทำศัลยกรรมในแมว ณ โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
คำสำคัญ:
การทำศัลยกรรม, กราฟอมยิ้ม, กราฟลูกอ๊อด, ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ, แมวบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาระยะสั้นเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลากับการลดลงของอุณหภูมิร่างกายและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติในแมว หลังจากการวางยาสลบและทำศัลยกรรม ณ โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 46 ตัว โดยวัดอุณหภูมิร่างกายของแมวทางทวารหนักด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิแบบดิจิทัล ในนาทีที่ 0, 60, 120 และ 180 หลังจากการวางยาสลบ และศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำโดยการเก็บข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลและบันทึกประวัติสัตว์ป่วย ผลการศึกษาพบว่าความชุกของภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติหลังจากการวางยาสลบและทำศัลยกรรมในแมว เท่ากับ 97.8% (45/46) โดยพบว่าเมื่อการวางยาสลบและทำศัลยกรรมผ่านไป 60 นาที อุณหภูมิร่างกายของแมวลดต่ำมากที่สุดเฉลี่ย 94.854±2.53 ºF ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติอย่างมีนัยสำคัญในแมวทั้งระดับอ่อน กลาง และรุนแรง คือ การได้รับออกซิเจน (χ2 = 7.095, p-value = 0.029) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นและเป็นประโยชน์สำหรับสัตวแพทย์และเจ้าของแมวในการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ ระหว่างการวางยาสลบและทำศัลยกรรมในแมว
References
Redondo, J. I., Suesta, P., Gil, L., Soler, G., Serra, I. & Soler, C. (2012). Retrospective study of the prevalence of postanaesthetic hypothermia in cats. The Veterinary record. 170(8), 206.
Paulikas, C. A. (2008). Prevention of unplanned perioperative hypothermia. Association of Perioperative Registered Nurses Journal. 88(3), 358-65.
Posner, L. (2007). Perioperative Hypothermiain Veterinary Patients. NAVC Clinician’s Brief, 19-21.
สุพิศ สกุลคง. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำของผู้ป่วยหลังผ่าตัดระบบทางเดินปัสสาวะในห้องพักฟื้น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 195-207.
ภัทรียา รตนะวรรธน์, เพราพิลาส ภักดีดินแดน, พิชญาภาชมแก้ว และสุมิตร ดุรงค์พงษ์ธร. (2552). การศึกษาภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าในสุนัขเนื่องจากผลของ การระงับความรู้สึกทั่วร่างกายและการทำศัลยกรรม. วารสารสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทย, 20(2), 30-40.
Roe, C. F., Goldberg, M. J., Blair, C. S., & Kinney J. M. (1966). The influence of body temperature on early postoperative oxygen consumption. Surgery, 60, 85.
Haskins, S. C., & Patz, J. D. (1980). Effect of inspired-air warming and humidification in the prevention of hypothermia during general anesthesia in cats. American Journal of Veterinary Research. 41(10), 1669-73.
Hartman, G., & Shaffran, N. (2006). The Postoperative Patient. In: Small Animal Surgical Nursing: Skillsand Concepts. S.J. Busch (ed.) St. Louis: Elsevier Mosby, 287-309.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย