พฤติกรรมการบริโภคอาหาร : กรณีศึกษานักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
พฤติกรรม, การบริโภคอาหาร, นักศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหาร : กรณีศึกษานักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 323 คน โดยใช้การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบที (T-test)
ผลการวิจัย พบว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาทั้งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง (X=3.20, S.D.=0.37 และ =3.30, S.D.=0.44) และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 คณะ พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษานี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการจัดโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีให้กับนักศึกษาของทั้งสองคณะต่อไป
References
ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์ และวรางคณา อุดมทรัพย์. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่นไทยผลกระทบ
และแนวทางแก้ไข. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 28(1): 122-128.
ปนันดา จันทร์สุกรี และวศิน แก้วชาญค้า. (2561). สภาพแวดล้อมทางอาหารภายในมหาวิทยาลัยที่มีอิทธิพลต่อ
พฤติกรรมการบริโภคเพื่อสุขภาพของนักศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
กองโรคไม่ติดต่อ. (2564). จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (NCD) ปี 2559-2563.
http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=14220&tid=32&gid=1-020
สุสิตรา สิงโสม. (2562). การศึกษาภาวะโภชนาการ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาสาขาวิชา
คหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก:
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
กานต์ ลิ้มศิริสวัสดิ์ และคณะ. (2564). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3-5
คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 64(2): 133-144.
สิริไพศาล ยิ้มประเสริฐ. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษา ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์, 15(1): 33-41.
Best, J.W. (1977). Research is Evaluation. (3rd ed). Englewod cliff: N.J. Prentice Hall.
วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ และ วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2564). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทย
โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชุลีพรรณ แสนพันธ์ และลีลา เตี้ยงสูงเนิน. (ม.ป.ป.). พฤติกรรมการเลือกใช้บริการฟู๊ดเดลิเวอรีด้วย Mobile
Application ของผู้บริโภคในเขตนนทบุรี. https://grad.dpu.ac.th/upload/content/files/Year8-2/8213.pdf
อดิศักดิ์ หวานใจ และคณะ. (2562). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ
ครั้งที่ 11 ณ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ (น.1042-1051). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มรภ.กพ. วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย