การวิเคราะห์การกระจายการถือครองที่ดินของเกษตรกรด้วยเส้นโค้งลอเรนซ์และสัมประสิทธิ์จีนี

Main Article Content

พงศ์กร จันทราช
สืบพงษ์ พงษ์สวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การกระจายของการถือครองที่ดินระดับครัวเรือน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของขนาดเนื้อที่ถือครองทางการเกษตรกับจำนวนสมาชิกในครัวเรือน กระบวนการวิจัยเริ่มด้วยการปรับปรุงเส้นขอบเขตการถือครองที่ดินรายครัวเรือนซึ่งเป็นฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ให้เป็นปัจจุบันด้วยการสำรวจภาคสนามโดยใช้ข้อมูลดาวเทียมจากโปรแกรม Google Earth และเครื่องกำหนดพิกัดบนพื้นโลกด้วยดาวเทียมเป็นเครื่องมือ ขั้นตอนถัดมาได้สอบถามหัวหน้าครัวเรือนถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินและจำนวนสมาชิกในครัวเรือน ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เส้นโค้งลอเรนซ์ (Lorenz Curve) และสัมประสิทธิ์จินี (Gini Coefficient) เพื่อวัดความไม่เท่าเทียมกันของการถือครองที่ดิน และใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเพื่อวัดทิศทางของความสัมพันธ์กับขนาดของความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อที่ถือครองทางการเกษตรกับจำนวนสมาชิกในครัวเรือน ผลการวิจัยพบว่า เส้นโค้งลอเรนซ์ของการถือครองที่ดินอยู่ห่างจากเส้นแห่งการกระจายเท่าเทียมกัน โดยสัมประสิทธิ์จินี มีค่าเท่ากับ 0.31 แสดงว่าการถือครองที่ดินระดับครัวเรือนมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ ร้อยละ 31 ขนาดเนื้อที่ถือครองรายครัวเรือนมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับจำนวนสมาชิกในครัวเรือน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.34 แสดงว่าเมื่อจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเพิ่มขึ้นจะทำให้ขนาดเนื้อที่ถือครองเพิ่มขึ้นด้วย สำหรับขนาดของเนื้อที่ถือครองรายครัวเรือนเป็นผลมาจากจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเพียงร้อยละ 11 เท่านั้น โดยค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (r2) เท่ากับ 0.11 แสดงว่าเนื้อที่ถือครองไม่ได้มีสาเหตุหลักมาจากจำนวนมาชิกในครัวเรือน

Article Details

How to Cite
จันทราช พ., & พงษ์สวัสดิ์ ส. (2023). การวิเคราะห์การกระจายการถือครองที่ดินของเกษตรกรด้วยเส้นโค้งลอเรนซ์และสัมประสิทธิ์จีนี. Journal of Advanced Development in Engineering and Science, 11(31), 47–61. สืบค้น จาก https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/pitjournal/article/view/954
บท
บทความวิจัย