การกำหนดค่าปัจจัยที่เหมาะสมเพื่อลดปัญหาตะกั่วลัดวงจรโดยประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลอง: กรณีศึกษาโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

Main Article Content

สมพร วงษ์เพ็ง
อัญญารัตน์ ประสันใจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาตะกั่วลัดวงจรในกระบวนการประกอบแผ่นวงจรพิมพ์พีซีบี โดยประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลอง เพื่อกำหนดค่าปัจจัยที่เหมาะสม จากการศึกษากระบวนการผลิตของบริษัทกรณีศึกษามีปริมาณของเสียร้อยละ 2.58 ซึ่งมีปัญหาการลัดวงจรตำแหน่งซีพียูเป็นปัญหาหลักที่ส่งผลให้เกิดปริมาณของเสียร้อยละ 1.85 ของทุกประเภทของเสียทั้งหมดของกระบวนการผลิต ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยประกอบด้วยการนำแผนภูมิพาเรโตมาจัดลำดับปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกับแผนผังแสดงเหตุและผลในการหาปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับปัญหา จากนั้นทำการทดลองและหาค่าของปัจจัยที่เหมาะสมโดยการออกแบบการทดลองกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการ การออกแบบการทดลองแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย คือ ขนาดของรูพิมพ์บล็อกสกรีนโดยในการทดลองมีการปรับค่าขนาดรูพิมพ์ที่ 0.25 และ 0.30 และระยะของการพิมพ์ตะกั่ว โดยการปรับที่ระยะ 0.50 และ 1.00 มิลลิเมตร ผลวิจัยพบว่าปัจจัยที่เหมาะสมในการพิมพ์ตะกั่ว คือ ปัจจัยบล็อกสกรีนขนาดรูพิมพ์ขนาด 0.25 มิลลิเมตร และปัจจัยระยะของการพิมพ์ตะกั่วที่ 0.50 มิลลิเมตร ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาของงานเสียที่เกิดจากตะกั่วลัดวงจรตำแหน่งซีพียู ลดลงจากเดิมปริมาณของเสียร้อยละ 1.85 จนไม่เกิดปัญหานี้ และทำให้ผลรวมปริมาณของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตลดลงจากเดิมปริมาณของเสียร้อยละ 2.58 เป็นร้อยละ 0.35 เนื่องจากของเสียลดลงในขั้นตอนการผลิตอื่นๆ ทำให้หลังจากปรับปรุงปัจจัยการผลิตปริมาณของเสียรวมเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

Article Details

How to Cite
วงษ์เพ็ง ส. ., & ประสันใจ อ. . (2023). การกำหนดค่าปัจจัยที่เหมาะสมเพื่อลดปัญหาตะกั่วลัดวงจรโดยประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลอง: กรณีศึกษาโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์. Journal of Advanced Development in Engineering and Science, 10(28), 1–13. สืบค้น จาก https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/pitjournal/article/view/931
บท
บทความวิจัย