การประยุกต์การเชื่อมทิกแบบไม่ใช้โลหะเติมสำหรับการเชื่อมซ่อมรอยต่อท่อเหล็กกล้าไร้สนิมต่างชนิด

Main Article Content

ชเนรินทร์ รักสัตย์
ระพี กาญจนะ
กิตติพงษ์ กิมะพงศ์
ศักดิ์ชัย จันทศรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ในการประยุกต์การเชื่อมทิก (Tungsten inert gas welding: TIG welding) แบบไม่ใช้โลหะเติม (Fillerless metal) ในการเชื่อมรอยต่อชนท่อไร้ตะเข็บระหว่างเหล็กกล้าไร้สนิมต่างชนิด AISI304 และ AISI316L ด้วยการเชื่อมหนึ่งแนวและการเชื่อมซ้ำหลายแนว รอยต่อชน 3 รูปแบบถูกทำการออกแบบและเชื่อมด้วยกระแสเชื่อม 135 A แก๊สปกคลุม คือ แก๊สอาร์กอนที่อัตราการไหล 12.5 l/min และความเร็วแนวเชื่อม 200 mm/min หลังจากนั้นถูกนำมาทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของรอยต่อและโครงสร้างมหภาค ผลการทดลองโดยสรุปมีดังนี้ การเชื่อมทิกแบบไม่ใช้โลหะเติมสามารถทำการเชื่อมซ่อมรอยต่อเหล็กกล้าไร้สนิมต่างชนิดระหว่าง AISI304 และ AISI316L และทำให้เกิดแนวเชื่อมสมบูรณ์ได้ดังคาดหวัง เมื่อองค์ประกอบของเหล็กกล้าไร้สนิม AISI304 มีค่าสูงในโลหะเชื่อมสามารถส่งผลทำให้เกิดการเพิ่มความกว้างของแนวเชื่อม การเพิ่มความเว้าของแนวเชื่อม และการลดความนูนแนวราก เมื่อทำการเปรียบเทียบความแข็งแรงดึงของรอยต่อเชื่อม พบว่าความแข็งแรงดึงของรอยต่อเชื่อมหลายแนวมีค่าต่ำกว่าความแข็งแรงของรอยต่อเชื่อมหนึ่งแนวประมาณ 20-30% รอยต่อการเชื่อมซ้ำแนวที่มีส่วนผสมของเหล็กกล้าไร้สนิม AISI304 มากกว่าให้ค่าความแข็งแรงสูงกว่าและโลหะเชื่อมที่มีพื้นที่แคบกว่ารอยต่อการเชื่อมซ้ำแนวที่มีส่วนผสมของเหล็กกล้าไร้สนิม AISI304

Article Details

How to Cite
รักสัตย์ ช. ., กาญจนะ ร., กิมะพงศ์ ก. ., & จันทศรี ศ. . (2023). การประยุกต์การเชื่อมทิกแบบไม่ใช้โลหะเติมสำหรับการเชื่อมซ่อมรอยต่อท่อเหล็กกล้าไร้สนิมต่างชนิด. Journal of Advanced Development in Engineering and Science, 9(26), 25–33. สืบค้น จาก https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/pitjournal/article/view/922
บท
บทความวิจัย