การศึกษาและการประเมินผลกระทบของการดำเนินการปรับเปลี่ยนระบบจำหน่ายบัตรโดยสารอัตโนมัติของรถไฟฟ้ามวลชนในกรุงเทพมหานครด้วยแบบจำลองของทฤษฎีแถวคอย

Main Article Content

สุวิทย์ ภูมิฤทธิกุล
ปานวิทย์ ธุวะนุติ
ลัญฉกร วุฒิสิทธิกุลกิจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ทำการศึกษาเกี่ยวกับข้อจำกัดของระบบขายบัตรโดยสารอัตโนมัติของรถไฟฟ้ามวลชนในกรุงเทพมหานครและนำเสนอแบบจำลองที่ใช้ทฤษฎีแถวคอยเพื่อทดสอบและประเมินผลกระทบของการดำเนินการปรับเปลี่ยนตู้จำหน่ายบัตรโดยสารของรถไฟฟ้าในปัจจุบัน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงชนิดของตู้โดยสาร หรือการเพิ่มตู้โดยสาร เพื่อใช้เป็นแบบจำลองที่จะนำไปสู่การประเมินเวลาในการให้บริการของระบบการจำหน่ายตั๋วของผู้ให้บริการรถไฟ ซึ่งสามารถใช้เป็นทางเลือกในการประเมินนโยบายเพื่อปรับเปลี่ยนระบบโดยเทียบกับต้นทุนทรัพยากร โดยผลการทดลองของงานวิจัยนี้สรุปได้ว่า แนวทางการใช้ทฤษฎีแถวคอยสามารถเป็นต้นแบบการวิเคราะห์ผลกระทบเชิงเวลาในแถวคอยของผู้รับบริการ เมื่อมีการปรับเปลี่ยนจำนวนหรือชนิดของตู้จำหน่ายบัตรโดยสาร โดยบทความวิจัยนี้เสนอสี่กรณีศึกษาของรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที ซึ่งจะเป็นแบบจำลองที่สามารถนำไปสร้างโปรแกรมประยุกต์ในการจำลองการปรับเปลี่ยนตู้จำหน่ายบัตรโดยสารของระบบจำหน่ายบัตรโดยสารของผู้ให้บริการรถไฟต่อไป

Article Details

How to Cite
ภูมิฤทธิกุล ส., ธุวะนุติ ป. ., & วุฒิสิทธิกุลกิจ ล. (2023). การศึกษาและการประเมินผลกระทบของการดำเนินการปรับเปลี่ยนระบบจำหน่ายบัตรโดยสารอัตโนมัติของรถไฟฟ้ามวลชนในกรุงเทพมหานครด้วยแบบจำลองของทฤษฎีแถวคอย. Journal of Advanced Development in Engineering and Science, 8(21), 75–85. สืบค้น จาก https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/pitjournal/article/view/889
บท
บทความวิจัย