การผลิตไซรัปกล้วยน้ำว้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรการผลิตไซรัปกล้วยน้ำว้าที่เหมาะสมซึ่งให้ปริมาณของไซรัปกล้วยน้ำว้ามากที่สุด และศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคต่อไซรัปกล้วยน้ำว้า ไซรัปกล้วยน้ำว้าที่ได้จากสูตร ที่เหมาะสมถูกนำมาวิเคราะห์สมบัติของไซรัปกล้วยน้ำว้าด้วยการศึกษาปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ ความเป็นกรดเบส ปริมาณน้ำอิสระ ความหนืด และปริมาณจุลินทรีย์ในไซรัปกล้วยน้ำว้า ในงานวิจัยนี้การทดสอบ การยอมรับของผู้บริโภคใช้ผู้บริโภคตัวอย่าง จำนวน 30 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือใน การรวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบคุณลักษณะทางประสาทสัมผัส 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าอัตราส่วนระหว่างกล้วยน้ำว้าและน้ำตาลทรายที่ให้ปริมาณไซรัปสูงสุดคือกล้วยน้ำว้าร้อยละ 80 และน้ำตาลทรายร้อยละ 20 โดยใช้เวลาในการหมัก 7 วัน ไซรัปกล้วยน้ำว้า มีปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้เท่ากับ 76 องศาบริกซ์ ความเป็นกรดเบสเท่ากับ 6.5 ปริมาณน้ำอิสระเท่ากับ 0.439 aw และความหนืดเท่ากับ 6,112 cps นอกจากนี้ไซรัปกล้วยน้ำว้าที่ผลิตได้มีปริมาณจุลินทรีย์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช และผู้บริโภคมีการยอมรับผลิตภัณฑ์ไซรัปกล้วยน้ำว้าในระดับมากที่ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน Journal of Advanced Development in Engineering and Science ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในJournal of Advanced Development in Engineering and Science ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Advanced Development in Engineering and Science หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Journal of Advanced Development in Engineering and Scienceก่อนเท่านั้น