การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 139 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Cluster Random Sampling)เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน(Stepwise Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่านักเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงใช้เวลาในการทบทวนวิชาคณิตศาสตร์ไม่เกิน 30 นาทีต่อวัน โดยมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านรูปแบบการสอนของครูด้านความเอาใจใส่ของผู้ปกครอง และด้านการเรียนพิเศษคณิตศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านพฤติกรรมในการเรียนและด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง การศึกษาปัจจัยด้านความรู้พื้นฐานเดิมพบว่า เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ความเอาใจใส่ของผู้ปกครอง การเรียนพิเศษคณิตศาสตร์ พฤติกรรมในการเรียน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน ได้แก่ ปัจจัยด้านความรู้พื้นฐานเดิมพฤติกรรมในการเรียน และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน Journal of Advanced Development in Engineering and Science ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในJournal of Advanced Development in Engineering and Science ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Advanced Development in Engineering and Science หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Journal of Advanced Development in Engineering and Scienceก่อนเท่านั้น