กรณีศึกษาของอุณหพลศาสตร์และพฤติกรรมการกัดกร่อนทางเคมีไฟฟ้าของอะลูมิเนียมที่ผ่านกระบวนการบ่มแข็งเกรด 6061-T6

Main Article Content

กนกอร รจนากิจ
ไชยรัช เมฆแก้ว
ชาตินักรบ แสงสว่าง
ศิวกร สุขประเสริฐชัย
ธีร์ เชาวนนทปัญญา

บทคัดย่อ

ปัจจุบันอลูมิเนียมอัลลอยด์ 6061-T6 ได้รับความสนใจจากอุตสาหกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้นแต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่ากระบวนการบ่มแข็งทางอุณหภาพจะเหนี่ยวนำให้เกิดอนุภาค Mg2Si การกระจายและขนาดที่สม่ำเสมอของอนุภาคเหล่านี้ส่งผลต่อสมบัติทางกลที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการมีอนุภาคเหล่านี้อาจทำให้เกิดการกัดกร่อนของกัลวานิกในเฉพาะบริเวณระหว่างอนุภาคและเมทริกซ์อะลูมิเนียม ดังนั้นภาคอุตสาหกรรมจึงให้ความสนใจอย่างมากในเรื่องของพฤติกรรมการกัดกร่อนทางเคมีไฟฟ้าของโลหะผสมอะลูมิเนียมนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี กรณีศึกษานี้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการกัดกร่อนทางอุณหพลศาสตร์ของอะลูมิเนียมบริสุทธิ์จากนั้นจึงเสนอการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการกัดกร่อนทางเคมีไฟฟ้าของอะลูมิเนียมในสารละลายทางทะเลจำลองโดยใช้เทคนิคเส้นโค้งโพลาไรเซชันและอิมพีแดนซ์สเปกโทรเชิงเคมีไฟฟ้า (EIS) การศึกษาแสดงให้เห็นว่าชั้นฟิล์มแพสซีพส่วนใหญ่ประกอบด้วย Al(OH)3 สามารถเกิดขึ้นได้บนพื้นผิวของอะลูมิเนียมในช่วง pH 5.7-8.5 ซึ่งทำให้อะลูมิเนียมมีความต้านทานการกัดกร่อนที่ดี โดยผลเส้นโค้งโพลาไรเซชัน แสดงให้เห็นว่าคลอไรด์อิออนสามารถทำลายชั้นฟิล์มแพสซีพและส่งผลให้เกิดการกัดกร่อนเฉพาะที่แบบรูเข็มผลลัพธ์ของ EIS แสดงให้เห็นว่าการทำลายฟิล์มแบบแพสซีฟสามารถนำไปสู่การเพิ่มอัตราการกัดกร่อนของอลูมิเนียม 6061-T6 อย่างมีนัยสำคัญ การคำนวณบนพื้นฐานค่าพลังงานอิสระชี้ให้เห็นว่าการกัดกร่อนแบบเฉพาะที่ของอลูมิเนียม 6061-T6 สามารถเริ่มต้นได้จากความต่างศักย์เคมีไฟฟ้าระหว่างอนุภาค Mg2Si และเมทริกซ์อลูมิเนียมส่งผลให้แมกนีเซียมถูกกัดกร่อนและเป็นจุดเริ่มต้นของการกัดกร่อนเฉพาะที่แบบรูเข็ม

Article Details

How to Cite
รจนากิจ ก., เมฆแก้ว ไ., แสงสว่าง ช., สุขประเสริฐชัย ศ., & เชาวนนทปัญญา ธ. (2024). กรณีศึกษาของอุณหพลศาสตร์และพฤติกรรมการกัดกร่อนทางเคมีไฟฟ้าของอะลูมิเนียมที่ผ่านกระบวนการบ่มแข็งเกรด 6061-T6 . Journal of Advanced Development in Engineering and Science, 14(40), 26–37. สืบค้น จาก https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/pitjournal/article/view/1277
บท
บทความวิจัย

References

Aruri, D., et al (2013). Wear and mechanical properties of 6061-T6 aluminum alloy surface hybrid composites [(SiC + Gr) and (SiC + Al2O3)] fabricated by friction stir processing. Journal of Materials Research and Technology, 2(4), 362-369.

Phiphathatthakul, M., et al (2023). A Study of Heat Transfer Characteristics of Double Pipe Heat Exchanger with Twisted Tape Inserts. Journal of Advanced Development in Engineering and Science, 3(6), 1-10. (in Thai)

Chowwanonthapunya, T., et al (2018). Predictive approach for corrosion study of low alloy steel in a simulated coastal atmosphere. Journal of Science and Technology Mahasarakham University, 37(1), 108-112. (in Thai)

Peeratatsuwan, C., et al. (2022). A Thermodynamic Investigation on Corrosion of Cu-bearing Steel in Aqueous Solutions. Journal of Advanced Development in Engineering and Science, 12(33), 16-26.

Sekularac, G., et al. (2018). Corrosion of aluminum alloy AlSi7Mg0.3 in artificial sea water with added sodium sulphide. Corrosion Science, 144, 54-73.

Yang, X. K., et al. (2017). Properties degradation and atmosphericcorrosion mechanism of 6061 aluminum alloy in industrial and marine atmosphere environments. Materials and Corrosion, 68(5), 529-535.

Luo, D., et al. (2022). Corrosion resistance of 6061-T6 aluminum alloy and its feasibility of near-surface reinforcements in concrete structure. Reviews on Advanced Materials Science, 61, 638-653.

Liang, M., et al. (2018). Corrosion and pitting of 6060 series aluminum after 2 years

exposure in seawater splash,tidal and immersion zones. Corrosion Science, 140, 286-296.

Chowwanonthapunya, T., et al ( 2015). Review of Corrosion of Carbon Steel in CO2 –

Containing Environment of the Oil and Gas Industry: Mechanism Understanding to

Prediction Model. Journal of Advanced Development in Engineering and Science, 5(14), 31-41. (in Thai)

Pourbaix, M. (1990). Thermodynamics and Corrosion. Corrosion Science, 30(10), 963-988.

Chowwanonthapunya, T. (2022). Fundamentals of Corrosion Engineering. Chiangmai: Chiang Mai University Press. (in Thai)

McCafferty, E. (2010). Introduction to Corrosion science. New York: Springer.

Pourbaix, M.(1973). Lectures on Electrochemical Corrosion. New York: Plenum Press.

Can, P., et al. (2022). The corrosion behavior of the 6061 Al alloy in simulated Nansha marine atmosphere. Journal of Materials Research and Technology, 19, 709-721.