การติดตามและประเมินปริมาณฝุ่นละอองที่น้อยกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในพื้นที่ภายในและภายนอกอาคาร: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (ศูนย์การศึกษาสามพร้าว)

Main Article Content

วินัย Winai
เอราวัณ เบ้าทอง
ปิยวดี ยาบุษดี
วิภาพร กิติศรีวรพันธุ์
ศิวพร ภูกองทอง
ภูษณพาส สมนิล
สืบชาติ อันทะไชย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณฝุ่นละอองที่น้อยกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในพื้นที่ภายในและภายนอกอาคาร ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (ศูนย์การศึกษาสามพร้าว) ดำเนินการตรวจวัดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 อุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ ในพื้นที่ศึกษาวันละ 8 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.00 น. 5 วันต่อเนื่องกันในแต่ละสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - เดือนพฤศจิกายน 2563 วิเคราะห์ผลค่าเฉลี่ยปริมาณฝุ่นละอองที่ได้ ตามฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน วิเคราะห์ค่าอัตราส่วนระหว่างปริมาณฝุ่นละอองภายในและภายนอกอาคาร (I/O ratio) และสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่าในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน มีปริมาณของฝุ่นละออง PM2.5 ภายในอาคารอยู่ในช่วง 59.87 - 133.50 mg/m3, 20.72 - 106.65 mg/m3 และ 16.52 - 109.21 mg/m3 ตามลำดับ ปริมาณของฝุ่นละออง PM2.5 ภายนอกอาคารอยู่ในช่วง 50.71 - 140.11 mg/m3, 29.01 - 42.53 mg/m3 และ 16.42 - 116.25 mg/m3 ตามลำดับ ในช่วงฤดูหนาวมีปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 สูงสุดเนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์ และอุณหภูมิมีค่าต่ำ ในช่วงฤดูร้อนมีปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 ต่ำกว่าฤดูหนาว เนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์มีค่าต่ำ แต่อุณหภูมิมีค่าสูง จึงเกิดการหมุนเวียนของอากาศบริเวณพื้นผิวด้านล่างทำให้ฝุ่นละออง PM2.5 สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย ในช่วงฤดูฝนมีปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 ต่ำที่สุด เนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์มีค่าสูงเกิดกระบวนการตกแบบเปียกชะล้างฝุ่นละออง ผลการวิเคราะห์การได้รับสัมผัสโดยพิจารณาจากค่าอัตราส่วนระหว่างระดับฝุ่นละอองภายในและภายนอกอาคาร พบว่ามีค่าสูงสุดเท่ากับ 1.40±0.12 แสดงว่ามีโอกาสรับสัมผัสกับฝุ่นละออง PM2.5 ภายในอาคารมากกว่าภายนอกอาคาร ค่าสัมประสิทธิ์ตัวกำหนดที่ได้จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 ภายในและภายนอกอาคาร (R2) เท่ากับ 0.85 และ 0.97 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
Winai ว., เบ้าทอง เ. ., ยาบุษดี ป., กิติศรีวรพันธุ์ ว., ภูกองทอง ศ., สมนิล ภ., & อันทะไชย ส. (2023). การติดตามและประเมินปริมาณฝุ่นละอองที่น้อยกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในพื้นที่ภายในและภายนอกอาคาร: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (ศูนย์การศึกษาสามพร้าว). Journal of Advanced Development in Engineering and Science, 12(35), 50–69. สืบค้น จาก https://ph03.tci-thaijo.org/index.php/pitjournal/article/view/982
บท
บทความวิจัย