การใช้พอลิเมอร์ชีวภาพเป็นสารคีเลตในกระบวนการสังเคราะห์อนุภาคแม่เหล็ก นาโนโคบอลต์เฟอร์ไรต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ศึกษาการใช้พอลิเมอร์ชีวภาพ 3 ชนิด ได้แก่ แป้งข้าวโพด แป้งมันสำปะหลัง และเจลว่านหางจระเข้เป็น สารคีเลตในการสังเคราะห์อนุภาคแม่เหล็กนาโนโคบอลต์เฟอร์ไรต์ (CoFe2O4) ด้วยวิธีโซล-เจล สารตัวอย่างที่ได้จากทำปฏิกิริยาโซล-เจลจนแห้งสนิท นำมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิค TGA เพื่อเลือกช่วงอุณหภูมิการแคลไซน์ (Calcine) ที่เหมาะสม พบว่าอยู่ในช่วงอุณหภูมิ 600 – 800 องศาเซลเซียส แล้วพิสูจน์ว่าเป็นเฟสของโคบอลต์เฟอร์ไรต์ด้วยเทคนิค XRD พบพีคที่แสดงเฟสของโคบอลต์เฟอร์ไรต์จากสารคีเลตบางชนิด และสามารถคำนวณหาขนาดผลึกโดยใช้สมการเชอเรอร์ได้ขนาดผลึกในช่วง 28 – 30 นาโนเมตร ส่วนภาพถ่ายสัณฐานวิทยาที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (SEM) แสดงการเกาะกันเป็นคลัสเตอร์ ที่สามารถวิเคราะห์การกระจายขนาดด้วยเทคนิค LPSA พบว่ามีการกระจายขนาดที่ค่อนข้างกว้างเมื่อใช้แป้งข้าวโพด ส่วนการวิเคราะห์กราฟฮีสเทอรีซีสลูปซึ่งวัดด้วยเทคนิค VSM พบว่า ค่าแมกนีไตเซชันอิ่มตัวสูง สำหรับการใช้แป้งมันสำปะหลัง ในทำนองเดียวกันค่าลบล้างทางแม่เหล็กและค่า Squareness มีการเปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของชนิดสารคีเลตด้วย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน Journal of Advanced Development in Engineering and Science ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในJournal of Advanced Development in Engineering and Science ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Advanced Development in Engineering and Science หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Journal of Advanced Development in Engineering and Scienceก่อนเท่านั้น