การประเมินปริมาณสารประกอบฟีนอลิกและเฟลโวนอยด์ในเมล็ดข้าวเพื่อการคัดเลือกสายพันธ์ุ ข้าวไทย (Oryza sativa L.)
Main Article Content
บทคัดย่อ
สภาวะในการเพาะปลูกและสายพันธุ์ข้าวนั้นมีผลต่อความหลากหลายของสารทุติยภูมิที่มีอยู่ในเมล็ดข้าว ในงานวิจัยนี้ได้ใช้เมล็ดข้าวไทย 6 สายพันธุ์ที่ได้จากศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี และศูนย์วิจัยข้าวร้อยเอ็ด โดยมีข้าวขาว 3 สายพันธุ์ (หางยี71 ชัยนาท1 และกข49) และข้าวสี 3 สายพันธุ์ (ข้าวเหนียวดำอุบล ข้าวก่ำอุบล และข้าวก่ำอุดร) มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณสารประกอบฟีนอลิก และสารเฟลโวนอยด์ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก และสารเฟลโวนอยด์จะถูกพบในปริมาณที่สูงในเมล็ดข้าวสี ซึ่งมากกว่าที่พบในเมล็ดข้าวขาว โดยที่ข้าวเหนียวดำอุบลจะพบปริมาณสารประกอบฟีนอลิก และสารเฟลโวนอยด์สูงที่สุด (670 mg Gallic/L.g และ 380 mg Catechin/L.g ตามลำดับ) ตามมาด้วยข้าวก่ำอุบล และข้าวก่ำอุดร นอกจากนี้ยังมีการนำสารสกัดจากเมล็ดข้าวไปวิเคราะห์ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTS และ DPPH สารสกัดจากเมล็ดข้าวเหนียวดำอุบลให้ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดทั้งจากวิธี ABTS (14 µM Trolox/g) และ DPPH (6 ไมโครลิตร) เช่นเดียวกับปริมาณสารประกอบฟีนอลิก และสารเฟลโวนอยด์ที่พบ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก สารเฟลโวนอยด์ และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของเมล็ดข้าวที่ได้นั้นสามารถนำไปใช้ในการเพิ่มมูลค่า และคุณค่าทางสารอาหารในข้าวสายพันธุ์ไทยได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน Journal of Advanced Development in Engineering and Science ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในJournal of Advanced Development in Engineering and Science ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ Journal of Advanced Development in Engineering and Science หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Journal of Advanced Development in Engineering and Scienceก่อนเท่านั้น