การประยุกต์ใช้ปุ๋ยเม็ดละลายน้ำสูตร 16-16-16 ในระบบปลูกพืชที่แตกต่างกันต่อ การเจริญเติบโตของผักกวางตุ้ง (Brassica chinensis var. parachinensis)

Main Article Content

ธิติ ทองคำงาม
แสงเทียน พิมวันนา
พรพนิต ศศิวัฒน์ชุติกุล
สุกฤตา อนุตระกลูชัย

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ปุ๋ยเม็ดละลายน้ำสูตร 16-16-16 ต่อการเจริญเติบโตของผักกวางตุ้งในระบบปลูกพืชที่แตกต่างกัน 3 ระบบ คือ ดิน วัสดุปลูก และไฮโดรโพนิกส์ วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) ประกอบด้วย 3 กรรมวิธี ๆ 3 ซ้ำ ๆ ละ 20 ต้น โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงที่ 1 ระหว่าง เดือน กันยายน-ตุลาคม ใช้ผักกวางตุ้งใบเขียว พบว่าการเจริญเติบโตของผักกวางตุ้งใบเขียวในด้านของความสูง จำนวนใบ ขนาดใบ และน้ำหนักสดของต้น ตั้งแต่ช่วงแรกของการปลูกพืช (30 วัน) จนกระทั่งสิ้นสุดการทดลอง (45 วัน) กรรมวิธีที่ปลูกพืชในดิน มีแนวโน้มการเจริญเติบโตสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวคือ จำนวนใบ เท่ากับ 9.4 ใบ ขนาดใบ เท่ากับ 14.8 เซนติเมตร ความสูงของต้น เท่ากับ 17.8 เซนติเมตร และน้ำหนักต่อต้น เท่ากับ 133.8 กรัมต่อต้น ตามลำดับ รองลงมา คือ กรรมวิธีที่ปลูกแบบวัสดุปลูกและไฮโดรโพนิกส์ และในช่วงที่ 2 ระหว่าง เดือน ธันวาคม-มกราคม ทดสอบกับผักกวางตุ้งฮ่องเต้ ผลการทดลองพบว่า แนวโน้มค่าการเจริญเติบโตในด้านของความสูง จำนวนใบ ขนาดใบ และน้ำหนักสดของต้น เหมือนกับการทดลองผักกวางตุ้งใบเขียว โดยจะเห็นเด่นชัดที่สุดในส่วนของน้ำหนักสดของกรรมวิธีที่ปลูกในดิน มีค่าเท่ากับ 69.5 กรัมต่อต้น รองลงมา คือ วัสดุปลูก และไฮโดรโพนิกส์ มีค่าเท่ากับ 41.8 และ 5.4 กรัม ตามลำดับ โดยสรุปการใส่ปุ๋ยเม็ดละลายน้ำสูตร 16-16-16 มีผลต่อการเจริญเติบโตของผักกวางตุ้งทั้ง 2 ชนิด (กวางตุ้งใบเขียว และกวางตุ้งฮองเต้) และวิธีการปลูกพืชแบบดินเหมาะสมที่สุดในการทดลองการใช้ปุ๋ยเม็ดละลายน้ำสูตร 16-16-16 ต่อการเจริญเติบโตของผักกวางตุ้ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขนิษฐา ฤกษ์อรุณ และพรไพรินทร์ รุ่งเจริญทอง. (2556). ผลของปุ๋ยเคมีที่แตกต่างกันต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยของกวางตุ้ง. ในการประชุมวิชาการแห่งชาติ ครั้งที่ 10 วันที่ 6–7 ธันวาคม 2556 (หน้า 2181-2186). นครปฐม : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

นาวิน สุขเลิศ, จีราพร กุลสาริน, ไสว บรูณาพานิพันธุ์ และวีรเทพ พงษ์ประเสริฐ. (2559). ประสิทธิภาพของสารชีวภัณฑ์เชื้อรากําจัดแมลงในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลายในเบบี้ฮ่องเต้บนพื้นที่สูงของจังหวัดเชียงใหม่. วารสารเกษตร, 32(2) :171-180.

นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด และสาโรจน์ ประชาศรัยสรเดช. (2547). การใช้ไส้เดือนฝอยก่อโรคแก่แมลงสายพันธุ์ไทยกําจัดแมลงศัตรูผักคะน้า. วารสารวิชาการเกษตร, 22(2) : 145-156.

เบญจพร ชำนาญ, ขวัญฤดี สุวะไกร, ทิพย์สุคน อนุภาพ, ทัศนีย์ แจ่มจรรยา, นุชรีย์ ศิริ, ยุวธิดา ศรีพลแท่น, อุบล ตังควานิช และ ประกายจันทร์ นิ่มกิ่งรัตน์. (2565). การใช้ชีวภัณฑ์ในการควบคุมด้วงหมัดผักแถบลาย (Phyllotreta sinauta Stephen) (Coleoptera: Chrysomelidae) ในกวางตุ้ง. วารสารแก่นเกษตร, 50(4) : 932-944.

สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2555). สถิติการค้าสินค้าเกษตรไทยกับต่างประเทศ ปี 2554. ศูนย์สารสนเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สิรินาฏ พรศิริประทาน. (2554). การส่งออกผักและผลไม้สดไทยไปสหภาพยุโรป. ส่วนงานสารสนเทศและเผยแพร่วิชาการ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน).

Asaduzzaman, M., Saifullah, M., Mollick, A.S.R., Hossain, M.M., Halim, G. and Asao, T. (2015). Influence of soilless culture substrate on improvement of yield and produce quality of horticultural crops. In Asaduzzaman, M.D., Editor. Soilless Culture - Use of substrates for the production of quality horticultural Crops. (pp. 25-34) New Delhi : IntechOpen.

Gobilik, J., Rechard, C.T., Maludin, A.J., Alam, M.A.A. and Benedick, S. (2021). Efficacy of column hydroponic system for increasing growth and yield of pak choy (Brassica rapa l.) per unit area. Transaction on Science and Technology, 8(1) : 1-7.

Hooks, T., Sun, L., Kong, Y., Masabni, J. and Niu, G. (2022). Effect of nutrient solution cooling in summer and heating in winter on the performance of baby leafy vegetables in deep-water hydroponic systems. Horticulturae, 8 : 749-765.

Liu, W., Li, S. and Chen, D. (2003). Effect of organic nutrient solution on growth and quality of pak choi under soilless culture. Acta Horticulturae, 627 : 139-144.

Pant, A.P., Radovich, T.J.K., Hue, N.V. and Miyasaka, S.C. (2012). Pak Choi (Brassica rapa, Chinensis Group) yield, phytonutrient content, and soil biological properties as affected by vermicompost-to-water ratio used for extraction. HortScience, 47(3) : 395-402.

Silitonga, M., Sipayung, P., Sitorus, I.M., Siahaan, R., Hutauruk, S., Fajar, T.S.A., Sarumaha, S.R.D. and Panijaitan, D. (2018). The effect of biochar dose and NPK fertilizer on the production and growth of pak choi plant. International Conference on Agribussines, Earth and Environmental Science, 205 : 1-8.

Song, S.W., Liao, G.X., Liu, H.C., Sun, G.W. and Chen, R.Y. (2012). Effect of ammonium and nitrate rations on growth and yield of Chinese kale. Applied Mechanics and Materials, 142 : 32-36.

Tripathi, K.M., Dhakal, D., Sah, S., Baral, D.R. and Sharma, M.D. (2018). Evaluation of vermicompost and chemical fertilizers on performance of pak choi (Brassica rapa cv. Hong Tae) and soil biological process. Journal of the Institute of Agriculture and Animal Science, 33 : 243-250.

Wiangsamut B. and Koolpluksee M. (2020). Yield and growth of pak choi and green oak vegetables grown in substrate plots and hydroponic systems with different plant spacing. International Journal of Agricultural Technology, 16(4) : 1063-1076.