การพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยวผสมสาหร่ายผมนาง

Main Article Content

จิรพร สวัสดิการ
อุมารินทร์ มัจฉาเกื้อ
หยาดรุ้ง สุวรรณรัตน์

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยวผสมสาหร่ายผมนางผล โดยผสมสาหร่ายผมนางผงระดับต่าง ๆ ได้แก่ ร้อยละ 0, 1, 2 และ 3 โดยน้ำหนัก นำผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยวมาวิเคราะห์ค่าสี L* a* b* และค่าความหนืดของน้ำแป้งเส้นก๋วยเตี๋ยว พบว่าค่าสี -a* (ความเป็นสีเขียว) และค่าความหนืดของน้ำแป้งเพิ่มขึ้น เมื่อเพิ่มปริมาณสาหร่ายผมนางผง นำผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยวมาประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสโดยการให้คะแนนความชอบ 9 ระดับ จากการทดสอบพบว่าผู้บริโภคให้คะแนนความชอบเฉลี่ยคุณลักษณะทางประสาทสัมผัสด้านต่าง ๆ กับเส้นก๋วยเตี๋ยวที่มีปริมาณสาหร่ายผมนางร้อยละ 1 โดยน้ำหนักมากที่สุด มีคะแนนความชอบในช่วงชอบเล็กน้อย (5.93 คะแนน) สาหร่ายผมนางสามารถนำไปใช้ในเส้นก๋วยเตี๋ยวได้ เพื่อเพิ่มมูลค่าและความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นพรัตน์ มะเห ปิยรัตน์ ศิริวงษ์ไพศาล และอุไรวรรณ วัฒนกุล. (2553). การสกัดและคุณสมบัติของพอลิแซ็กคาไรด์จากสาหร่ายผมนาง สาหร่ายผักกาดทะเล และสาหร่ายขนนก. สงขลา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

นันธิดา แดงขาว. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นก๋วยเตี๋ยวจากปลานวลจันทร์เสริมสาหร่ายพวงองุ่น. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยดุสิตธานี.

ประจงเวท สาตมาลี. (2549). การเร่งกระบวนการบ่มแผ่นแป้งก๋วยเตี๋ยวจันท์ด้วยการใช้อุณหภูมิต่ำ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภัทรา สุดเลิศ และวรางคณา สมพงษ์. (2559). ผลของสารสกัดจากสาหร่ายผมนางต่อคุณลักษณะของไส้กรอกปลาอิมัลชัน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มาดีนา น้อยทับทิม, วรรษมน วัฑฒนายน, วิจิตรา เฉิดฉิ้ม, ตัซนีม สมวงค์ และ วุฒิชัย ศรีช่วย. (2566). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใบหม่อน (Morus alba L.) แผนผสมสาหร่ายผมนาง (Gracilari a spp.) และขาวหอมกระดังงา (Oryza sativa cv. Hom Kradang Ngah) เปนอาหารว่างเพื่อสุขภาพ. นราธิวาส : มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.

วิภา สุโรจนะเมธากุล. (2541). คุณสมบัติของข้าวและการเปลี่ยนแปลงระหว่างกระบวนการผลิตก๋วยเตี๋ยวและเส้นหมี่. กรุงเทพฯ : สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วีระสิทธิ์ กัลป์ยากฤต และกุลกานต์ สุนทรวาท. (2546). การใช้สาหร่ายสไปรูไลนาในการผลิตก๋วยเตี๋ยวเพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่า. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 41. (หน้า 193-200) กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วีรเทพ ศรีปราชญ์, วิโรจน์ กิติคุณ, ภัคพงศ์ ปวงสุข และธวัชชัย ศุภดิษฐ์. (2554). การใช้สาหร่ายผมนาง (Gracilaria fisheri) เป็นวัตถุดิบในอาหารกุ้งกุลาดำ. แก่นเกษตร, 39 : 159-170.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2558). มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมก๋วยเตี๋ยว. กรุงเทพฯ : กระทรวงอุตสาหกรรม.

หับเส๊าะ หมัดเหม ธัญญา ดวงจินดา และ สุภฎา คีรีรัฐนิคม. (2553). การใช้สาหร่ายผมนาง (Gracilaria fisheri) เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตและสารเหนียวในอาหารกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii). พัทลุง : มหาวิทยาลัยทักษิณ.