ประเมินการเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและปริมาณออกซาเลตในใบของมันเทศสามสายพันธุ์

Main Article Content

ภัทร์ลดา สุธรรมวงศ์
ฆนาลัย เข็มเอี่ยม
ปรมาภรณ์ วงค์คำชาญ
ธัญญารัตน์ แตงสีนวล
นนทวัฒน์ มากดี
อนุกูล ศรีไสล

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการเจริญเติบโตทางลำต้นและปริมาณออกซาเลตในใบของมันเทศ 3 สายพันธุ์ วางแผนการทดลองแบบ factorial in completely randomized design (factorial in CRD) โดยปัจจัย A คือ สายพันธุ์มันเทศ 3 สายพันธุ์ คือ เพอเพิ้ลสวีทโรด (Purple Sweet Road) ม่วงโอกินาวา (Purple Okinawa Beni Imo) และขาวผักกาด (Kuri Beni Imo) ปัจจัย B คือ อายุของมันเทศ 4 ระดับ คือ อายุมันเทศ 30,  60,  90 และ 120 วัน กรรมวิธีละ 4 ซ้ำ บันทึกข้อมูลด้านความยาวเถาหลัก จำนวนกิ่งต่อต้น น้ำหนักสดใบและน้ำหนักแห้งใบ คลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซนซ์ พื้นที่ใบ พื้นที่ใบจำเพาะ และปริมาณออกซาเลตในใบ พบว่าสายพันธุ์และอายุหลังปลูกมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยสายพันธุ์ม่วงโอกินาวาที่อายุ 120 วันหลังปลูก ให้ความยาวเถาหลัก น้ำหนักใบสด และน้ำหนักแห้งใบ ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงสูงสุด (0.74) แต่ด้านจำนวนกิ่งต่อต้นนั้นพบว่าสายพันธุ์ขาวผักกาดที่อายุ 120 วันหลังปลูก ให้จำนวนกิ่งต่อต้นสูงสุด (17 กิ่ง) การประเมินปริมาณออกซาเลตในใบมันเทศ พบว่า สายพันธุ์เพอเพิ้ลสวีทโรดที่อายุ 30 วันหลังปลูก มีปริมาณออกซาเลตในใบสูงสุดถึง 165.63 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักสด รองลงมา สายพันธุ์ม่วงโอกินาวาที่อายุ 30 วันหลังปลูก และสายพันธุ์ขาวผักกาดที่อายุ 30 วันหลังปลูก ซึ่งการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสายพันธุ์ม่วงโอกินาวา มีแนวโน้มสามารถปรับตัวในการเจริญเติบโตได้ดี หากต้องการบริโภคใบมันเทศควรหลีกเลี่ยงระยะมันเทศที่อายุ 30 วันหลังย้ายปลูก ซึ่งมีปริมาณออกซาเลตในใบมันเทศที่สูง เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงการบริโภคใบมันเทศที่ส่งผลต่อการเกิดโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

Article Details

บท
Academic Article

References

เฉลิมพล แซมเพชร. (2542). สรีรวิทยาการผลิตพืชไร่. เชียงใหม่ : ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณภาภัช ใจเพ็ชร ธัญญารัตน์ มังกร วิตรี พรมศร และอนุรักษ์ อรัญญนาค. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณคลอโรฟิลล์และผลผลิตชีวมวลของลูกผสมข้ามชนิดระหว่างสบู่ดํากบเข็มปัตตาเวีย. ใน การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 11 (หน้า 1685-1693).

นฤมล ผิวเผื่อน. (2557). ผลึกแคลเซียมออกซาเลต และปริมาณออกซาเลตในพืชผักบางชนิดในจังหวัดหนองคาย. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 42(4) : 820-829.

พัชรินทร์ ชนะพาห์. (2554). ปัจจัยเสี่ยงของโรคนิ่วในไต ประเด็นของสารแคลเซียมและออกซาเลต. สงขลานครินทร์เวชสาร. 29(6): 299-308.

พิชญุตม์ ฤกษนันทน์. (2561). การพัฒนาระบบตรวจวัดแคลเซียมออกซาเลตในปัสสาวะเพื่อการคัดกรองโรคนิ่วไต. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภานุวัฒน์ สีพันธ์, สกุลกานต์ สิมลา, สุรศักดิ์ บุญแต่ง และ ชฎาพร เสนาคุณ. 2560. ระยะพัฒนาการต่อปริมาณสารพฤกษเคมีและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในใบมะนาวโห่. แก่นเกษตร (ฉบับพิเศษ), 45(1) : 336-341.

ละอองศรี ศิริเกษร สุชาดา บุญเลิศนิรันดร์ และวชิรญา เหลียวตระกูล. 2561. การเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันเทศ 6 พันธุ์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 10(3) : 411-423

วิโรจน์ เกษรบัว ดารัลพร ตะหนูชน และ อนิษฐาน ศรีนวล. (2566). รูปแบบและการกระจายของผลึกแคลเซียมออกซาเลตในใบพืชสมุนไพรบางชนิดในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 25(2) : 38-48.

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร. (2554). วิจัยและพัฒนาการผลิตมันเทศ. 19 เมษายน 2564, เข้าถึงได้จาก : https://www.doa.go.th/research/attachment.php?aid=2153.

สมนึก พรมแดง ลักขณา เบ็ญจวรรณ์ อทัยวรรณ ด้วงเงิน และ ศิริพรรณ สุขขัง. (2560). ปริมาณออกซาเลตและฤทธิ์ต้านอนมูลอิสระในผักโขม 12 สายพันธุ์.

วารสารแก่นเกษตร, 48(1) : 1065-1072.

Anitha, R. and Sandhiya, T. (2014). Occurrence of calcium oxalate crystals in the leaves of medicinal plants. International Journal of Pharmacognosy, 1(6) : 389-393.

Antonio, G.C., Talkeiti, C.Y., Oliveira R.A., and Park, K.J. (2011). Sweet potato: production, morphological and physicochemical characteristics, and technological process. Fruit, Vegetable and Cereal. Science and Biotechnology, 5 Special issue (2) : 1-18.

Aregheore, E.M. (2003). Nutritive value of sweet potato (Ipomoea batatas (L) Lam.) forage as goat feed : voluntary intake, growth, and digestibility of mixed rations of sweet potato and batiki grass (Ischaemum aristatum var. indicum). Small Ruminant Research, 51(3) : 235–241.

Arunyanark, A., Jogloy, S., Akkasaeng, C., Vorasoot, N., Kesmala, T., Nageswara Rao, R. C., Wright, G. C., and Patanothai, A. (2008). Chlorophyll stability is an indicator of drought tolerance in peanut. J. Agron. Crop. Sci., 194 : 113-125.

Cha-um, K., Sangjun, S., Prawetchayodom, K., Theerawitaya, C., Tisarum, R., Klomklaeng S., and Cha-um, S. (2019). Physiological, organic and inorganic biochemical changes in the leaves of elephant ear (Colocasia esculenta Schott var. aquatillis). The Horticulture Journal, 88 (4) : 499–506. 2019.

FAO. (1992). The world sweet potato economy. Basic Foodstuffs Service Commodities And Trade Division. Italy : Rome.

Franceschi, V.R. and Nakata, P.A. (2005). Calcium oxalate in plants : formation and function. Annual Review of Plant Biology, 56 : 41-71.

Holmes, R. P. and Assimos, D. G. (2004). The impact of dietary oxalate on kidney stone formation. Urology Research, 32 : 311-316.

Montilla, E.C., Hillebrand, S. and Winterhalter, P. (2011). Anthocyanins in purple sweet potato (Ipomoea batatas L.) varieties. Fruit, vegetable and cereal. Science and Biotechnology, 5 Special issue (2) : 9–24.

Melissa, J. and Ralphenia, D.P. (2010). Sweet potato leaves : properties and synergistic interactions that promote health and prevent disease. Nutrition Reviews, 68(10) : 604-615.

Nyi, N., Sridokchan, W., Chai-arree, W., and Srinives, P. (2012). Nondestructive measurement of photosynthetic pigments and nitrogen status in Jatropha (Jatropha curcas L.) by chlorophyll meter. Philippine Agr. Scientist, 95(2) : 83-89.

Odufuwa, T.K., Atunnise A.K., Oluganni, O.D., and Salau A.B. (2014). Juicing alters oxalates contents in commonly consumed leafy vegetables in Southwest Nigeria. International Journal of Nutrition and Food Sciences, 3(3) : 183-186.

Prychid, C.J. and Rudall, P.J. (1999). Calcium oxalate crystals in monocotyledons: a review of their Structure and systematics. Annals of Botany, 84 : 725–739.

Robert, E. B. (2010). Early evolution of photosynthesis. Future Perspect. Plant Biol, 154 : 434-438.

Wanyo, P., Huaisan, K., Boothaisong, S., Nitisuk, P., Wongpreedee, P., and Chamsai, T. (2018). Effect of hot air drying and vacuum drying on oxalate contents of Limnophila aromatica and Limnophila geoffrayi. FABJ, 6(2) : 65-75.