การประเมินลักษณะความต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งของสายพันธุ์ข้าวในจังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ไอลดา รุ่งพลอย
สุภาภรณ์ เอี่ยมเข่ง
บังอร ธรรมสามิสรณ์

บทคัดย่อ

       โรคขอบใบแห้ง (bacterial blight disease) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzae (Xoo) จัดเป็นโรคข้าวที่สำคัญ เนื่องจากมีการระบาดรุนแรง ทำความเสียหายในแหล่งปลูกข้าว โดยเฉพาะในเขตชลประทานข้าวที่ เป็นโรคนี้รุนแรงผลผลิตจะลดลง 20-30 เปอร์เซ็นต์ และอาจสูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ในข้าวพันธุ์อ่อนแอต่อโรค งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินลักษณะความต้านทานของข้าว จำนวน 13 สายพันธุ์ ต่อโรคขอบใบแห้งในจังหวัดสุพรรณบุรี ดำเนินการทดสอบที่โรงเรือนทดลองจังหวัดสุพรรณบุรีด้วยวิธีการปักดำ กระถางละ 1 ต้น จำนวน 3 ซ้ำ และสุ่มเก็บตัวอย่าง ใบข้าวที่เป็นโรคขอบใบแห้งของจังหวัดสุพรรณบุรี มาแยกเชื้อแบคทีเรียบริสุทธิ์ด้วยเทคนิค tissue transplanting และตรวจสอบด้วยสัณฐานวิทยา พบว่าโคโลนี มีลักษณะกลมนูน ผิวเรียบ มันเยิ้ม มีเมือก และสร้างรงควัตถุสีเหลือง เป็นแบคทีเรียแกรมลบ มีรูปร่างแบบท่อน (gram negative rod ) มีขนาดประมาณ 0.5-0.8 x 1.0-2.0 µm ทดสอบปฏิกิริยาการเกิดโรคตามวิธีการพิสูจน์โรคของ Koch (Koch’s postulation) พบลักษณะอาการเป็นแผลรอยฉ่ำน้ำ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเทาเป็นทางยาวตามแนวขอบใบ และเตรียมสารแขวนลอยแบคทีเรียจากเชื้อบริสุทธิ์เพื่อประเมินลักษณะความต้านทานของข้าวสายพันธุ์ดี จำนวน 13 สายพันธุ์ ปลูกด้วยวิธีการปักดำ ทำการทดสอบโรคขอบใบแห้งโดยใช้วิธี clipping method หลังจากปลูกเชื้อแล้ว 21 วัน ประเมินลักษณะอาการที่เป็นโรคโดยการให้คะแนนเป็นพื้นที่ใบที่ถูกทำลาย ผลการศึกษาพบว่า สายพันธุ์ที่แสดงปฏิกิริยาความต้านทานมาก (HR) 4 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ R2006 มีพื้นที่ใบข้าวที่ถูกเชื้อเข้าทำลาย 1 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่สายพันธุ์ R3001, R3018 และ R3021 มีพื้นที่ใบข้าวที่เชื้อเข้าทำลาย 2 เปอร์เซ็นต์  ผลการทดลองนี้สามารถนำมาเป็นข้อมูลสนับสนุนงานด้านปรับปรุงพันธุ์ข้าวในประเทศไทยให้มีการพัฒนาข้าวพันธุ์ดี ที่มีความต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง  และเพิ่มทางเลือกในการผลิตข้าวของเกษตรกร      

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว. (2565). องค์ความรู้เรื่องข้าว. 21 ธันวาคม 2565, เข้าถึงได้จาก : https://newwebs2. ricethailand.go.th/webmain/rkb3/title-index.php-file=content.php&id=67.htm.

จารุวี อันเซตา, ธีรยุทธ ตู้จินดา, คะนึงนิตย์ เหรียญวราการ และสุจินต์

ภัทรภูวดล. (2565). การกระจายตัวของสายพันธุ์เชื้อ Xanthomonas oryzae pv. oryzae ในภาคกลางของประเทศไทย. วารสารแก่นเกษตร, 50(1) : 204-215.

ดวงกมล บุญช่วย, อนรรฆพล บุญช่วย, ดวงพร วิธูรจิตต์ และเสน่ห์ คชรัตน์. (2555). การลดระดับความรุนแรงของโรค โดยวิธีผสมผสาน. ใน เอกสารประกอบสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์ภาคเหนือตอนบนและตอนล่าง ประจำปี 2555. (หน้า 127-143). กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว.

ทัศนีย์ สงวนสัจ. (2540). บทบาทของพันธุกรรมต้านทานโรคและแมลงกับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวของไทย. ใน การสัมนาทางวิชาการเรื่องพัฒนาข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 9 (หน้า 125-134). พิษณุโลก : ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร.

นงรัตน์ นิลพานิชย์. (2551). โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว.

ปริศนา วงค์ล้อม, จุฑาเทพ วัชระไชยคุปต์, สุจินต์ ภัทรภูวดล และวิชัย โฆสิตรัตน. (2558). การประเมินความหลากหลายในการก่อโรคของสายพันธุ์เชื้อ Xanthomonas oryzae pv. oryzae. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 46(2) : 165-175.

พยอม โคเบลลี่. (2566). โรคขอบใบแห้ง Bacterial Leaf Blight Disease. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว.

พยอม โคเบลลี่, สมใจ สาลีโท, ธีรดา หวังสมบูรณ์ดี, อนุชาติ คชสถิต, จิตติมา วงศ์หนองหว้า, วราพงษ์ ชมาพฤกษ์, รัศมี ฐิติเกียรติพงศ์, วิชชุดา รัตนากาญจน์, นุชกานต์ ศิลป์ประสิทธิ์, พรพรรณ ถีรัตถา และ สิรดา อ่อนเจริญ. (2558). การใช้เครื่องหมายโมเลกุลชนิด STS สำหรับงานปรับปรุงพันธุ์ข้าวไทยให้ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้งแบบคงทนถาวร. วารสารวิชาการข้าว, 6(1) : 56-69.

พยอม ศรีจำปา, พูนศักดิ์ เมฆวัฒนากาญจน์, สมาน คำมา และธวัทชัย พรหมรักษา. (2542). โรคขอบใบแห้งและเทคนิคการคัดพันธุ์ข้าวต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง (Bacterial Blight and Screening Technique for Bacterial blight Resistance in Rice). ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการข้าวธัญพืชเมืองหนาว 2542 (หน้า 30-31). กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว

พยอม ศรีจำปา, สมาน คำมาม, ธวัทชัย พรหมรักษา, จิรพงศ์ ใจรินทร์, และกิตติพงษ์ เพ็งรัตน์. (2541). ผลการสำรวจและประเมินผลโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าวในสภาพแปลงนาข้าวน้ำฝนเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. ใน รายงานผลการสำรวจโรค แมลงและศัตรูข้าวในนา ศัตรูข้าวในนาน้ำฝน กันยายน 2540 (หน้า 1-9). กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว.

ไพศาล เหล่าสุวรรณ, อารีย์ วรัญญูวัฒก์ และปิยะดา ทิพยผ่อง. (2547). หลักการปรับปรุงพันธุ์พืช. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 1-7 มีนาคม 2564. 6 สิงหาคม 2564, เข้าถึงได้จาก : https://www.oae.go.th/view.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). ข้าวนาปรัง เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ระดับประเทศ ภาค และจังหวัด ปี2565 ที่ความชื้น 15%. 21 ธันวาคม 2566. เข้าถึงได้จาก : https://www.oae.go.th/assets/ portals/1/files/seed%2065.

แสงชัย ศรีประโคน. (2552). การจำแนกและจัดกลุ่มเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคขอบใบแห้ง (Xanthomonas oryzae pv. oryzae) และการบ่งชี้ตำแหน่งยีนต้านทานในข้าวพื้นเมองเชียงรุ้ง (Oryza sativa L.). วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อัจฉราพร ณ ลำปาง เนินพลับ, รัศมี ฐิติเกียรติพงศ์, วิชชุดา รัตนากาญจน์, วันพร เข็มมุกด์, สิทธิ์ ใจสงฆ์, พันนิภา ยาใจ, ปิยะวรรณ ใยดี, นจุรินทร์ จังขันธ์, กรสิริ ศรีนิล, ธราพร ยืนยงค์, ดวงกมล บญุช่วย, อนรรฆพล บุญช่วย, ดวงพร วิธรูจิตต์, นิตยา รื่นสุข, เฉลิมขวัญ ฉิมวัย, เฉลิมชาติ ฤาไชยคาม, กนกอร ดอกไม้เทศ, วรรณพรรณ จนัลาภา, ทัสดาว เกตุเนตร, เฉลิมพล เฉลิมพลโยธิน, สมหมาย ศรีวิสทุธิ์, นพดล ประยูรสุข, ชนสิริน กลิ่นมณี และเสาวนีย์ ศรีบัว. (2557). ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อชนิดของเชื้อสาเหตุ และการระบาดของโรคข้าวในนาชลประทานที่ปลูกต่อเนื่อง. ใน รายงานการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 31 (หน้า 241-263). กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว.

Eamchit, S. and Mew, T.W. (1982). Comparison of virulence of Xanthomonas campestris pv. oryzae in Thailand and the Philippines. Plant Disease, 66 : 556-559.

IRRI. (1996). Standard Evaluation System for Rice. The International Rice Research Institute. Philippines : Los Baños, Laguna.

IRRI. (2014). Standard Evaluation System for Rice (5th ed.). International Rice Research Institute. Philippines : P.O. Box 933, Manila.

Ishiyama, S. (1922). Studies of bacterial leaf blight of rice. Report of the Imperial Agricultural Station, Nishigahara (Konosu), 45 : 233-261.

Kosawang, C., Smitamana, P., Toojinda, T., Nilpanit, N., and Sirithunya, P. (2006). Amplified fragment length polymorphism fingerprinting differentiates genetic diversity of Xanthomonas oryzae pv. oryzae from Northern Thailand. Journal of phytopathology, 154(9) : 550-555.

Mew, T.W., Cruz, C.M.V, and Medalla, E.S. (1992). Changes in race frequency of Xanthomonas oryzae pv. oryzae in response to rice cultivars planted in the Philippines. Plant Disease, 76 : 1029-1032.

Ou, S.H. (1985). Rice Disease (2nd ed.). United Kingdom : Common wealth Agricultural Bureaux.

Mew, T.W., Wang, T., and Keresters, K. (1990). Reclassification of the causal agents of bacterial blight (Xanthomonas campestris pv. oryzae) of rice as pathovar of Xanthomonas oryzae (ex Ishiyama 1922) sp. Nov., nom. Rev. International Journal of Systematic Bacteriology, 40 : 309-311

Swing J.M, Mooter, V.B., Vauterrin, M., Hoste, L., Gillis, B.,

.