ความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชในแม่น้ำจันทบุรี

Main Article Content

คณิสร ล้อมเมตตา
สิทธิพัฒน์ แผ้วฉ่ำ
สราวุธ แสงสว่างโชติ

บทคัดย่อ

        การศึกษาความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชในแม่น้ำจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ระหว่างเดือนธันวาคม 2565 ถึง เดือนมิถุนายน 2566 เก็บตัวอย่างจำนวน 3 สถานี ได้แก่ วัดกระทิง วัดจันทราราม และสะพานแหลมสิงห์ ในการศึกษาครั้งนี้พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 191 ชนิด จาก 3 ดิวิชั่น 7 คลาส 18 อันดับ 44 วงศ์ และ 99 สกุล มีแพลงก์ตอนพืชในคลาส Bacillariophyceae เป็นกลุ่มเด่นที่สุด 82 ชนิด รองลงมา ได้แก่ Chlorophyceae 65 ชนิด Dinophyceae 15 ชนิด Euglenophyceae 13 ชนิด Cyanophyceae 12 ชนิด Chrysophyceae 3 ชนิด และ Dictyochophyceae 1 ชนิด ความหนาแน่นของแพลงก์ตอนพืชสูงที่สุดในเดือนมิถุนายน (ฤดูฝน 844 หน่วย/ลิตร) และต่ำที่สุดในเดือนมีนาคม (ฤดูร้อน 519 หน่วย/ลิตร) บริเวณที่แพลงก์ตอนพืชมีความหนาแน่นเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ สะพานแหลมสิงห์ (1,133 หน่วย/ลิตร) และต่ำที่สุด ได้แก่ วัดจันทราราม (449 หน่วย/ลิตร) แพลงก์ตอนพืชสกุลเด่นที่พบตลอดลำน้ำของแม่น้ำจันทบุรี คือ Tracheromonas และ Peridinium แต่แพลงก์ตอนพืชสกุลเด่นที่พบปริมาณมาก คือ Nitzschia, Chaetoceros และ Coscinodiscus ค่าดัชนีความหลากหลาย ดัชนีความมากชนิด และดัชนีความสม่ำเสมอของแพลงก์ตอนพืช มีค่า 1.50-3.40, 2.01-9.32 และ 0.51-0.92 ตามลำดับ คุณภาพน้ำระหว่างศึกษาอยู่ในเกณฑ์ดี   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุสยา ปล้องอ่อน และจินตนา สและน้อย. (2559). การแพร่กระจายของแพลงก์ตอนพืชและคุณภาพน้ำในพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งบริเวณอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 24 (4) : 587-598.

เบญจมาศ จันทะภา ไพบูลย์กิจกุล, ลภัสดา ไกรสินธุ์, ศศิพา ฉิมพลี และชลี ไพบูลย์กิจกุล. (2558). ความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืชบริเวณบ้านบางสระเก้า อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี. แก่นเกษตร, 43 (พิเศษ 1) : 568-573.

ประเสริฐ ไวยะกา และ รวินท์นิภา บุดดี. (2565). การศึกษาความหลากหลายของแพลงก์ตอนพืช เพื่อเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 2(1) : 15-23

มิถิลา ปรานศิลป์, อิสรา อาศิรนันต์ และวรรณศิริ ชื่นนิยม. (2557). ความหลากชนิดและความชุกชุมของแพลงก์ตอนพืชบริเวณปากแม่น้ำตราด จันทบุรี และระยอง. ใน การประชุมวิทยาศาสตร์ทางทะเล ครั้งที่ 4, 10-12 มิถุนายน 2557.

รัชดา ไชยเจริญ, เบญจวรรณ ชิวปรีชา และจันทิมา ปิยะพงษ์. (2563). ความหลากชนิดของแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ในแม่น้ำเวฬุ จ.จันทบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 25(2) : 822-836.

ลัดดา วงศ์รัตน์. (2544). แพลงก์ตอนพืช. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Clark, K.R. and Warwick, R.M. (1994). Change in marine community : an approach to statistical analysis and interpretation. U.K. : Plymouth Marine Laboratory Plymouth.

Desikachary, T.V. (1959). Cyanophyta. New Delhi : Indian Council of Agricultural Research.

Guiry, M.D. and Guiry, G.M. (2014). AlgaeBase. Retrieved May 15; 2023, from : http//www.algaebase.org

Hurlbert, S.H. (1971). The non-concept of species diversity : A critique and alternative parameter. Ecology, 52 : 577-586.

Prescott, G.W. (1962). Algae of the Western Great Lake Area. Dubuque Iowa : Wm. C. Brown Company Publisher.

Washington, H.G. (1984). Review of diversity, biotic and similarity indices. Water Res, 18(6) : 653-694.