การบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรตามกรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง

Main Article Content

สุรชัย บุญเจริญ
ณัฐเศรษฐ์ น้ำคำ
มนตรี ใจเยี่ยม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาบริบท รูปแบบห่วงโซ่อุปทานศูนย์การเรียนรู้ใช้แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์ การจัดเวทีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นเครื่องมือ ผลการวิจัยพบว่า บริบทของกลุ่มศูนย์เรียนรู้สมุนไพรโดยกลุ่มศูนย์เรียนรู้สมุนไพร 4 แห่งเป็นฐานในการเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ และและสร้างภาคีเครือข่าย โดยสร้างความรู้และถ่ายทอดความรู้จากการปลูกผลิตและแปรรูป โดยมีแนวทางการพัฒนาที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน รูปแบบห่วงโซ่อุปทาน มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เป็นการจัดการทั้งระบบของห่วงโซ่อุปทาน โดยความเชื่อมโยง ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การแปรรูป และการตลาด เกี่ยวกับสมุนไพรเพื่อสุขภาพในพื้นชุมชน และการสร้างภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดการต่อยอดองค์ความรู้โดยการถ่ายทอดความรู้จากการเรียนรู้ การบริหารจัดการศูนย์การเรียนสมุนไพร โดยยึดหลักตามกรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประพันธ์ ภักดีกลุ. (2549). รูปแบบและปัจจัยในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยศักยภาพและ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548. (18 มกราคม 2548). ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป. เล่มที่ 122 ตอนที่ 6ก, หน้า 319-327.

รุ่งทิวา กองสอง. (2551). ความหลากหลายชนิดของพืชสมุนไพรและการใช้ประโยชน์ของชุมชน: กรณีศึกษาป่าชุมชนโคกหินลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิมล วิโรจพันธุ์. (2548). วิถีไทย. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

สันติ ศรีสวนแตง, ประสงค์ ตันพิชัย และทิพวัลย์ สีจันทร์. (2563). สถานการณ์ ศักยภาพและแนวทางในการจัดการสุขภาพชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก: กรณีศึกษาสมุนไพรไทยพื้นที่ลุ่มแม่น้ำนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 18(2), 406-419.

สุวัฒนชัย สวัสดิผล. (2552). ทุนทางสังคมและการจัดการศูนย์การเรียนรู้ กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ชุมชนมอญ บางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Booker, A., Johnston, D., & Heinrich, M. (2012). Value chains of herbal medicinesResearch needs and key challenges in the context of ethnopharmacology. Journal of ethnopharmacology, 140(3), 624-633.