การออกแบบบอร์ดเกมสร้างการรับรู้การท่องเที่ยว จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

นันทวัฒน์ ปานสุด
พจน์ธรรม ณรงค์วิทย์
ธนกิจ โคกทอง
อำไพ แสงจันทร์ไทย
ณัฐธิกานต์ ปิ่นจุไร
พบพร เอี่ยมใส

บทคัดย่อ

งานวิจัยการออกแบบบอร์ดเกมสร้างการรับรู้การท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อการออกแบบบอร์ดเกมสร้างการรับรู้การท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อประเมิน   ความพึงพอใจบุคคลทั่วไปที่มีต่อบอร์ดเกมสร้างการรับรู้การท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร จากการสังเคราะห์ข้อมูลร่วมกันในกระบวนการวิจัยพบว่าควรใช้บอร์ดเกมแบบเกมกระดานโดยใช้พื้นฐานกติกาจากเกม “Tokaido” มาออกแบบเป็นเกมส์ Trip Tour KamphaengPhet” เนื่องจากเป็นรูปแบบบอร์ดเกมที่เน้นการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวโดยตรง โดยผลของการออกแบบเกมได้มีการกำหนด รูปแบบการเล่น และกติกา ที่เชื่อมโยงกับการสร้างการรับรู้ด้านการท่องเที่ยวในแง่มุมต่าง ๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร ไม่ว่าจะเป็นการสร้างการรับรู้ด้านเทศกาลประเพณี วัฒนธรรมอาหารการกิน ของที่ระลึก สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในจังหวัดกำแพงเพชร จุดเด่นของเกมคือ เป็นเกมที่ใช้เวลา  ในการเล่นประมาณ 40-60 นาที เล่นครั้งละ 4 รอบ ทำให้การรับรู้ด้านการท่องเที่ยวในแต่ละครั้งมีความหลากหลายในแต่ละรอบการเล่นและสามารถมีผู้เล่นได้ 2-4 คน กฎกติกาไม่ซับซ้อน เน้นการปฏิสัมพันธ์ของผู้เล่น มีการใช้ลูกเต๋าเสี่ยงโชคโดยผู้เล่นจะได้ใช้การคิดวิเคราะห์และวางกลยุทธ์ รวมถึงการรับรู้    ด้านการท่องเที่ยวไปพร้อม ๆ กัน เพื่อที่จะรวบรวมการ์ดในเกมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในจังหวัดกำแพงเพชรที่มีค่าคะแนนสูง ซึ่งจะเป็นตัววัดผลแพ้ชนะกันในเกม จาการทำไปทดลองเล่นละวัดผลกับกลุ่มเป้าหมาย ได้ผลสรุปการประเมินความพึงพอและการสร้างการรับรู้การท่องเที่ยวในจังหวัดกำแพงเพชรอยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ยที่ 4.49 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 0.71

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรชพรรณ ชาญช่าง. (2562). ผลของการใช้ชุดการเรียนรู้ผ่านแท็บเล็ตร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(2). 18-30.

มนัสนันท์ หัตถศักดิ์ และรัชกร เวชวรนันท์. (2565). การพัฒนาบอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การจัดการชั้นเรียนของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 29(2). 106-126.

วชิรวิทย์ เอี่ยมวิลัย. (2563). การพัฒนาบอร์ดเกมตามแนวทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรรถเศรษฐ์ ปรีดากรณ์. (2557). การออกแบบบอร์ดเกมการศึกษา เรื่องวงสีธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.