การกำหนดตัวแบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์เพื่อหาขนาดปริมาณการสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสม ภายใต้ข้อจำกัดด้านความจุของรถบรรทุก
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์งานวิจัยนี้ เพื่อสร้างตัวแบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์สำหรับกำหนดปริมาณการสั่งซื้อสินค้า ที่เหมาะสมภายใต้ข้อจำกัดของรถบรรทุกสินค้าควบคุมอุณหภูมิ ขนาด 6 ล้อ มีรอบระยะเวลาการสั่งซื้อคงที่ (Fixed Lead Time) ปริมาณการจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์นม จำนวน 24 สัปดาห์ (มกราคม - มิถุนายน 2562) ใช้ข้อมูลจริงจากสถานประกอบการทดสอบกับตัวแบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์ ผลสรุปได้ว่า ตัวแบบจำลอง เชิงคณิตศาสตร์ รอบการสั่งซื้อสินค้าวันอังคาร, วันพฤหัสบดี ด้านความสามารถในการบรรทุกสินค้าแบบเต็มคัน คิดเป็นร้อยละ 5.05, 12.22 ด้านผลกำไรที่คาดว่าจะได้รับเมื่อจำหน่ายสินค้าได้ทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 5.69, 15.23 นอกจากนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภค ผักปลอดสารพิษ เนื้อสัตว์แปรรูป และสินค้าเกษตร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณฐา คุปตัษเฐียร. (2558). การวางแผนและการควบคุมการผลิต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพดล คณากรยิ่งยง, และเจริญชัย โขมพัตราภรณ์. (2560). การพยากรณ์ของอุปสงค์หลายรูปแบบและการสั่งซื้อแบบตู้คอนเทนเนอร์ที่เหมาะสม กรณีศึกษา อุปกรณ์ออกกำลังกายนำเข้า. วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน. 5(1), 1-11.
ฐิติมา วงศ์อินตา, ชุติมา หวังรุ่งชัยศรี, และอนิรุทธ์ ขันธสะอาด. (2561). กระบวนการลดต้นทุนค่าขนส่งและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเส้นทางเดินรถแบบมิลค์รัน สําหรับกรณีศึกษา บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต. 8(1), 71-90.
ณัฐวดี งามณรงค์พงษ์, และกนกพร ศรีปฐมสวัสดิ์. (2558). การพัฒนาฮิวริสติกส์เพื่อจัดเรียงสินค้า กรณีศึกษาอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วารสาร ThaiVCML. 8(1), 58-71.
ธีรวัฒน์ คำพรมมี, สุทธิพงษ์ ครุฑพาหะ, ณัฐพร ตั้งเจริญชัย, สุกฤษฎิ์ เพชรสวัสดิ์, และธัชชัย เทพกรณ์. (2562). การแก้ปัญหาการจัดตารางการผลิตด้วยวิธีแบบจำลองกำหนดการเชิงคณิตศาสตร์ กรณีศึกษา สถานประกอบการผลิตชิ้นส่วนรถบรรทุกในจังหวัดพิษณุโลก. วารสาร ThaiVCML. 12(1), 49-61.
สุดหทัย วิไลรัตน์. (2551). การลดความเสี่ยงด้านจุลินทรีย์ระหว่างกระบวนการขนส่งและการเก็บรักษานมพาสเจอร์ไรส์. ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนิติยา เถื่อนนาดี, ธัญญาพร เหล็กดี, มาริสา สาระจันทร์, วันวิสาข์ แขนสันเทียะ, และวรรณวิมล พระเจริญ. (2562). การเปรียบเทียบวิธีกำหนดปริมาณสั่งซื้อสำหรับสินค้าที่ปริมาณความต้องการไม่สม่ำเสมอของร้านค้าปลีกอุปกรณ์ฮาร์แวร์. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 29(3), 388-396.
อิสริยพร หลวงหาญ. (2562). การกำหนดตัวแบบอัตราค่าขนส่งสินค้าผลิตภัณฑ์นมยูเอชทีที่เหมาะสม กรณีศึกษา สำนักงาน อ.ส.ค. สุโขทัย. วารสาร ThaiVCML. 12(1), 21-36.