การออกแบบเครื่องแต่งกายสไตส์โลลิต้าจากลวดลายตีนจกบ้านหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบเครื่องแต่งกายสไตส์โลลิต้าจากลวดลายตีนจกหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จากการพัฒนาลวดลายผ้าตีนจกประยุกต์โดยใช้วิธีการพิมพ์แบบ Digital Print โดยเริ่มจากการสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อลวดลายผ้าตีนจกหาดเสี้ยว 9 ลายหลัก และ 9 ลายรอง พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เลือกลายผ้าซิ่นลายหลักคือลาย มนสิบหก ลายรองคือ ลายนกคาบ เลือกรูปแบบการพิมพ์ลายแบบเต็มผืนผ้า จากข้อมูลดังกล่าวผู้วิจัยจึงนำไปเป็นแนวทางในการออกแบบลวดลายโดยใช้หลักการออกแบบลายผ้าพิมพ์แบบจังหวะต่อเนื่องผสมผสานกับการวางลวดลายแบบสไตส์โลลิต้าได้ลวดลายทั้งหมด 3 ลวดลาย แล้วนำไปสอบถามความคิดเห็นผู้บริโภคที่มีต่อการออกแบบลวดลายผ้าพิมพ์ พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเลือกลายพิมพ์ลายที่ 1 มากที่สุด ที่ใช้ลายหลักขนาดใหญ่วางอยู่ริมผ้าด้านซ้ายและขวา ตกแต่งและเชื่อมต่อลายด้วยลายรอง และนำไปออกแบบชุดเครื่องแต่งกายสไตส์โกธิคโลลิต้า เพื่อสอบถามความพึงพอใจของผู้บริโภค พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 21-25 ปี มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย ( = 4.35) (S.D. = 0.82)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ปกรณ์ คงสวัสดิ์. (2562). Siam Lolita: นิยามความเป็นไทยที่ขาดหายไปจากอาภรณ์ของชาติ. จาก https://prachatai.com/journal/2019/01/80704
รุ่งทิพย์ อมรวชิรวงศ์. (2557). ความรู้เบื้องต้นของผ้าสกรีน General Information of Screen Fabrics. จาก http://road-to-millionaire9.blogspot.com/2011/07/screen-fabric-2-1.html
วินิทร สอนพรินทร์. (2559). การทำแบบตัดและเทคนิคการตัดเย็บเสื้อผ้า (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.