เครื่องตรวจวัดและควบคุมระบบบำบัดคุณภาพน้ำ
Main Article Content
บทคัดย่อ
คุณสมบัติของน้ำเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตในน้ำ มีคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพที่เกี่ยวข้องกัน หากคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งไม่เหมาะสมจะส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำทันที อาจทำให้สิ่งมีชีวิตในน้ำอ่อนแอ ป่วยง่าย หรือไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงพยายามปรับสภาพน้ำให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในน้ำอยู่เสมอ งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบและสร้างเครื่องมือวัดคุณภาพน้ำและการควบคุมระบบบำบัดโดยใช้อุปกรณ์วัดความขุ่น ค่าการนำไฟฟ้า และค่าอุณหภูมิ สามารถแสดงค่าการวัดผ่านแอพพลิเคชั่นสมาร์ทโฟน ระบบควบคุมที่ออกแบบมีระบบการทำงานอัตโนมัติ ผลการทดสอบระบบพบว่า การวัดคุณภาพน้ำ แสดงผลการวัดที่ตรงกับการวัด มีโหมดการทำงานสองโหมดคือ โหมดควบคุมด้วยตนเอง แสดงผลบนจอแอลซีดี และโหมดอัตโนมัติที่แสดงผ่านแอพพลิเคชั่นบนหน้าจอสมาร์ทโฟนที่เขียนผ่านโปรแกรมเอ็มไอทีแอพอินเวนเตอร์ สามารถแสดงค่าที่วัดได้ของเซ็นเซอร์แต่ละตัว พร้อมกันบนทุกหน้าจอ อีกส่วนคือ ระบบควบคุมการเปิด-ปิดการทำงานของอุปกรณ์สำหรับระบบบำบัดน้ำขึ้นอยู่กับการควบคุมการตัดการเชื่อมต่อทางไฟฟ้าโดยใช้สวิตช์โซลิตสเตรท เงื่อนไขที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้ได้มาจากการสอบเทียบและเปรียบเทียบพารามิเตอร์ที่จำเป็นของคุณสมบัติของน้ำ และระบบคำสั่งจะสั่งให้โซลิดสเตตทำงานจนกว่าน้ำจะสามารถปรับเข้าสู่สถานะปกติได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองพล อารีรักษ์. (2560). การควบคุมแบบอัตโนมัติของระบบปั๊มน้ำสำหรับไร่มันสำปะหลังที่ใช้แหล่งพลังงาน โซลาร์เซลล์ (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ธวัชชัย ทองเหลี่ยม, วีระศักดิ์ ชื่นตา, หฤทัย ดิ้นสกุล, และบรรเจิด เจริญพันธ์. (2557). ระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำและประมวลผลแบบอัตโนมัติสำหรับกระชังปลาทับทิม. ใน การประชุมวิชาการ งานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ครั้งที่ 6 การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้โลกมีสันติสุข (น.1-4). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาภาคพายัพ.
ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์. (ม.ป.ป.). น้ำสำหรับปลาสวยงาม. สืบค้น 2 สิงหาคม 2562, จาก https://home.kku.ac.th/pracha
รัตนา รัตนจารุรักษ์. (2555). การตรวจวัดคุณภาพน้ำ พระตำหนักสวนปทุม จังหวัดปทุมธานี ประจำปี 2553-2554. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ศรีสุวรรณ เกษมสวัสดิ์, ศิวพันธุ์ ชูอินทร์, และรชาดา บัวไพร. (2555). คุณภาพน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุริยา ศรีวิเศษ. (2561). Arduino กับ เซ็นเซอร์วัดความชื้นและอุณหภูมิ. สืบค้น 19 ธันวาคม 2561, จาก https://sites.google.com/site/mikhorkhxthorllexr1/home
อนุพงศ์ แก้วเขียว, และเสาวลักษณ์ วรรณธนาภา. (2559). ระบบควบคุมไฟฟ้าในห้องพักด้วยบอร์ดรีเลย์แบบเครือข่ายไร้สายโดยใช้ซิกบี. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 12(3), 183-193.