การประยุกต์ใช้ไพธอนในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เฮดฮอก เพื่อบันทึกและจำลองการออกแบบกราฟลวดลายผ้าซิ่นตีนจก

Main Article Content

ธัชชัย อยู่ยิ่ง
นัฐพงษ์ เนินชัด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ การสร้างโปรแกรมบันทึกและจำลองการออกแบบกราฟลวดลายผ้าซิ่นตีนจกด้วยไพธอน (Python) โปรแกรมดังกล่าวคือ “เฮดฮอก (Hedgehog)” ถูกพัฒนาขึ้นบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์สิบทำงานร่วมกับไพธอนรุ่น 3.9.2 โดยมีไลบรารี่ทีเคอินเตอร์ (Tkinter) สนับสนุนการพัฒนาส่วนต่างๆของโปรแกรมเฮดฮอก โปรแกรมดังกล่าวมีเครื่องมือที่สำคัญ 2 ส่วนนั่นคือ 1) เมนูเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบกราฟลวดลายผ้าซิ่นตีนจกและ 2) เมนูเครื่องมือที่ใช้ในการบันทึก สำหรับเมนูเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบกราฟลวดลายผ้าซิ่นตีนจก ประกอบไปด้วยเมนูเครื่องมือ สร้างใหม่ โหลดข้อมูลเดิม เลือกสี ส่งออกเป็นพีดีเอฟ (Portable Document Format: PDF) และลบ ในส่วนเมนูเครื่องมือในการบันทึกนั่นคือ บันทึก บันทึกเป็น และ สร้างรูปย่อย สำหรับผลการทดลองออกแบบกราฟลวดลายผ้าซิ่นได้ทำการออกแบบกราฟลวดลาย 3 ลาย ได้แก่ กราฟลายหงส์เชียงแสน กราฟลายหงส์ใหญ่ และกราฟลายหงส์มีหงอน อีกทั้งโปรแกรมเฮดฮอกยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บลวดลายผ้าซิ่นทั้งลายหลักและลายประกอบ ทำให้ช่างทอสามารถจำลองกราฟลวดลายตามลวดลายดั่งเดิมได้อย่างถูกต้องและประหยัดเวลาสำหรับการเริ่มต้นกราฟลวดลายใหม่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจียรนัย เล็กอุทัย และจักราวุธ พานิชโยทัย. (2554). การพัฒนาโปรแกรมการออกแบบผ้าจก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 19(2), 75-80.

เผ่าภิญโญศ์ ฉิมพะเนาว์ และจักรภพ ใหม่เสน. (2551). การออกแบบลายทอผ้าด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ JK-Weave. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

สําคัญ ฮ่อบรรทัด, สมบัติ ประจญศานต์, และดรัสวิน วงศ์ปรเมษฐ์. (2560). การวิเคราะห์การแปลงเมทริกซ์ของลายมัดหมี่ที่ใช้เทคนิคการค้นแบบหมี่ลวด. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55 (น. 1-10). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อนุสรณ์ จิตมนัส, อรอุมา รักษาชล, รัตติยา ฤทธิช่วย, วลิษา อินทรภักดิ์, และณัฎฐิณิย์ คงนวล. (2560). การสร้างและออกแบบลายผ้ายกเมืองนครโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคณิตศาสตร์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัยศิลปวัฒนธรรม ครั้งที่ 4 ยกระดับภูมิปัญญา สร้างมูลค่าสู่สังคม (น.88-92). เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

อัจฉรี จันทมูล, นิ่มนวล จันทรุญ, และสถิตย์ เจ็กมา. (2560). การศึกษาลวดลายผ้าเอกลักษณ์ประจำอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 13 (น. 225-229). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Python Software Foundation. (2564). Python. สืบค้น 22 มิถุนายน 2564, จาก https://www.python.org/downloads/