ประสิทธิภาพของวัสดุก่อสร้างที่ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีเพื่อการควบคุมสภาพแวดล้อม ในการผลิตเห็ดในโรงเรือนระบบปิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1. คัดเลือกวัสดุก่อสร้างที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างโรงเรือนผลิตเห็ดระบบปิดแบบใช้เทคโนโลยี และ 2. ทดลองควบคุมสภาพแวดล้อมในโรงเรือนร่วมกับเทคโนโลยีทางด้านการเกษตร เพื่อควบคุมปัจจัยในการผลิตเห็ดนางฟ้าภูฐานคือ ความชื้นสัมพัทธ์ 80% และอุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส โดยคัดเลือกวัสดุในการสร้างโรงเรือนที่มีราคาถูก หาได้ง่ายในท้องถิ่น จากการศึกษาพบว่า วัสดุที่เหมาะสมที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างโรงเรือนผลิตเห็ด โดยแบ่งเป็นวัสดุเป็น 8 ประเภทคือ 1) ผนังก่อซีเมนต์บล็อก 2) หลังคาแผ่นเหล็กเมทัลชีท 3) ฝ้าเพดานฉาบเรียบโดยใช้วัสดุแผ่นฝ้ายิปซัมบอร์ด 4) พื้นคอนกรีต 5) คานคอนกรีตเสริมเหล็ก 6) ฐานรากคอนกรีตเสริมเหล็ก 7) เสาเหล็กรูปพรรณ และ 8) คานหลังคาเหล็กรูปพรรณ โดยวัสดุทั้ง 8 ประเภทนี้ เมื่อได้ดำเนินการก่อสร้างเป็นโรงเรือนผลิตเห็ดแล้วและทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่งพบว่าสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้คือ 1) ความชื้น วัสดุที่นำมาใช้ สร้างโรงเรือนสามารถทนความชื้นสูงและเมื่อทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่งสามารถควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ 80% ได้ 2) อุณหภูมิ วัสดุที่นำมาใช้สร้างโรงเรือนสามารถเป็นฉนวนความร้อนและเมื่อทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่ง สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนไม่ให้เกิน 30 องศาเซลเซียส ผลการทดลองแสดงว่าวัสดุก่อสร้างที่ได้เลือกมาใช้ในการก่อสร้างโรงเรือนผลิตเห็ดแบบใช้เทคโนโลยี มีประสิทธิภาพดีเมื่อทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของทุกสรรพสิ่งเพื่อการควบคุมสภาพแวดล้อมในโรงเรือนผลิตเห็ด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
การผลิตเห็ด. (2561). คาร์บอนไดออกไซด์สำหรับการผลิตเห็ด. สืบค้น 5 มกราคม 2564, จาก https://th.co2meter.com/คอลเลกชัน/เห็ดการเกษตร
วัสดุก่อสร้าง. (2561). คุณสมบัติหลังคาเมทัลชีท. สืบค้น 5 กันยายน 2563, จาก http://www.nucifer.com/2015/02/07/matelsheet
ชลธิชา โคประโคน. (2559). การศึกษาการลงทุนผลิตเห็ดนางฟ้า. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
นานทรี หุ้นเหี้ยง. (2559). การศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิภายในห้องเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้าภูฐานซึ่งสร้างขึ้นด้วยวงบ่อซีเมนต์ตามแบบจำลองหม้อดินเก็บความเย็น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
นัยนา ยังเกิด และปรียนันท์ แสงดี. (2558). ผลิตเห็ดขาย. กรุงเทพฯ: เอ็มไอเอส.
วัสดุก่อสร้าง. (2563). ประเภทของฝ้าเพดาน. สืบค้น 12 ตุลาคม 2564, จาก https://www.usgboral.com/th_th/past-project-inspiration/article/type-ofceiling.html
ประเภทวัสดุในงานก่อสร้าง. (2563). ประเภทของวัสดุพื้น, เสา, ผนัง, ฝ้า, หลังคาในการก่อสร้าง. สืบค้น 16 ตุลาคม 2564, จาก https://www.onestockhome.com/
พรพรรณ ไชยชุมพล. (2557). ต้นทุนและผลตอบแทนของธุรกิจฟาร์มผลิตเห็ดนางฟ้าในจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2555). คู่มือการผลิตเห็ดเศรษฐกิจและเห็ดพื้นเมือง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มูฟเมนท์ เจน ทรี.
Cikarge, G., & Arifin, F. (2018). Oyster Mushrooms Humidity Control Based on Fuzzy Logic by Using Arduino ATMega238 Microcontroller. Journal of Physics: Conference Series. 1140, 1-12.
Jeznabadi, E. K., Jafarpour, M., & Eghbalsaied, S. (2016). King oyster mushroom production using various sources of agricultural wastes in Iran. International Journal of Recycling of Organic Waste in Agriculture, 5(1), 17-24.
Subedi, A., Luitel, A., Baskota, M., & Acharya, T. D. (2019). IoT Based Monitoring System for White Button Mushroom Farming. Proceedings 2020, 42, 46. https://doi.org/10.3390/ecsa-6-06545
Yang Guoguo, Bao Yidan, & Lu Yangyang. (2016). China Patent No. CN201520906798.6U.
Zhi-Li Yi, Wen-Fang Huang, Yan Ren, Eugen Onac, Guo-Fu Zhou, Sheng Peng, Xiao-Jing Wang, Hai-Hang Li. (2014). LED lights increase bioactive substances at low energy costs in culturing fruiting bodies of Cordyceps militaris. Scientia Horticulturae, 175, 139-143.