การศึกษาปัจจัยของเครื่องทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยวิธีการออกแบบการทดลอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาระดับของแต่ละปัจจัยที่เหมาะสมของเครื่องทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ข้าว และหาค่าความสัมพันธ์เชิงเส้นของปัจจัยจากการออกแบบการทดลอง โดยใช้เทคนิคการออกแบบการทดลอง Plackett-Burman Design มากรองปัจจัยขั้นแรก ผลลัพธ์ที่ได้มี 2 ปัจจัยที่มีผลในระดับนัยสำคัญต่อความสะอาดของเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีความชื้นที่ 12.7% คือ ความกว้างของช่องปล่อยข้าว และความเร็วของแรงลม จากนั้นผู้วิจัยได้ปรับการทดลองเพื่อศึกษาถึงระดับปัจจัยที่เหมาะสมด้วยการใช้การออกแบบและทดลองแบบ 3k Factorial Design โดยกำหนดระดับปัจจัยเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ความกว้างของช่องปล่อยข้าว 1.0 3.0 และ 5.0 เซนติเมตร และความเร็วลม 21.0 27.0 และ 32.0 เมตรต่อวินาที พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความสะอาดเมล็ดพันธุ์ข้าวมากที่สุดคือ ความเร็วลม โดยที่ความเร็วลม 21 เมตรต่อวินาที จะได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่สะอาดที่สุด จากนั้นหาค่าที่เหมาะสมจากการความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยใช้ฟังก์ชั่นถดถอย ผลการทดลองพบว่า ระดับปัจจัยที่เหมาะสมของความสะอาดเมล็ดพันธุ์ข้าวจากเครื่องที่ออกแบบและสร้างขึ้นมานั้นจะต้องใช้ความกว้างของช่องปล่อยข้าวที่ 1 เซนติเมตร และความเร็วแรงลมที่ 21 เมตรต่อวินาที ถึงจะได้เมล็ดพันธุ์ที่สะอาดที่สุด ผู้วิจัยได้ทดลองซ้ำและปรับตั้งค่าที่ได้ตามค่าที่ออกแบบการทดลอง ผลที่ได้จากเครื่องทำความสะอาดจะได้เมล็ดพันธุ์ดีเฉลี่ย 18.9 กิโลกรัม จากปริมาณเมล็ดพันธุ์ดีทั้งหมด 19 กิโลกรัม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการค้าข้าว. (2561). เมล็ดพันธุ์และการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว. สืบค้น 15 ตุลาคม 2561, จาก http://www.ricethailand.go.th/rkb/seed/index.php-file=content.php&id=3.html
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2556). การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ข้าว. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ณฤดล ผอูนรัตน์ และวรวรรธน์ นกน้อย. (2559). การศึกษาและพัฒนาเครื่องคัดข้าวพันธุ์คุณภาพสำหรับโรงสี สำหรับชุมชน (รายงานการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
ประไพศรี สุทัศน์ ณ อยุธยา และพงศ์ชนัน เหลืองไพบูลย์. (2551). การออกแบบและวิเคราะห์การทดลอง. กรุงเทพฯ: ท็อป.
พรชัย เหลืองอาภาพงศ์. (2540). วัชพืชศาสตร์. กรุงเทพฯ: รั้วเขียว.
รพีพรรณ เหล็กหมื่นไวย. (2019). การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เครื่องทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ข้าวในครัวเรือน. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 1(2), 36-46.
วิทยา สุมะลิ และระพี กาญจนะ. (2561). การลดของเสียในกระบวนการประกอบชิ้นส่วนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ โดยประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลอง. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 25(1), 156-165.
J. Camacho, J., Lewis, R., Dwyer-Joyce, R. S., (2007). Wear of a chute in a rice sorting machine. Wear, 263(1-6), 65-73.