การพัฒนาเครื่องสับย่อยไม้
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเพื่อการพัฒนาเครื่องสับย่อยไม้ในครั้งนี้ ได้ดำเนินการร่วมกับบริษัท ฮาเวสเตอร์เซลส์แอนด์เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดแพร่ เป็นผู้ร่วมทุนวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการลดต้นทุนการผลิต และการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศ การพัฒนาเครื่องใช้วัสดุที่มีการผลิตจากการวิจัย โดยกรรมวิธีการหล่อขึ้นรูปเหล็กประกับใช้กับแบริ่งขนาด 6308 ที่มีความสามารถในการรับแรง และลดระยะเวลาในการขึ้นรูป การวิจัยได้มีการขึ้นรูปชิ้นส่วนโดยใช้กรรมวิธีการกลึง การไส การกัด และการเชื่อมประกอบ การพัฒนาเครื่องสับย่อยไม้สู่เชิงพาณิชย์นั้น ผู้ประกอบการมีความต้องการในพัฒนาการทำงานของระบบ โดยเพิ่มเครื่องเจนเนอเรเตอร์ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้า และผ่านกล่องควบคุมที่สามารถวัดปริมาณไฟฟ้าที่มีฟังก์ชั่น การทำงานที่ใช้ระบบไฟฟ้าได้ การออกแบบการทดลอง พบว่า การสับย่อยไม้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 2 ถึง 4 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 4 ถึง 6 เซนติเมตร และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 6 เซนติเมตรขึ้นไป โดยเครื่องสามารถย่อยได้ดี และการออกแบบการย่อยกิ่งไม้สดจะมีขนาดความหนาเฉลี่ย 1.91 เซนติเมตร และกิ่งไม้แห้งจะมีขนาดความหนาเฉลี่ย 1.90 เซนติเมตร
การวิจัยได้มีการนำเครื่องสับย่อยไม้ลงพื้นที่เป้าหมาย เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการร่วมวิจัยและการสร้างตลาดใหม่ โดยกำหนดพื้นที่ 2 แหล่ง คือ การถ่ายทอดเครื่องสับย่อยไม้สู่เชิงพาณิชย์ ณ สำนักงานเทศบาลตำบลหาดกรวด ตั้งอยู่ที่ตำบลหาดกรวด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีค่าความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 และการถ่ายทอดเครื่องสับย่อยไม้สู่เชิงพาณิชย์ ณ สำนักงานเทศบาลตำบลน้ำริด ตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำริด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีค่าความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 การวิจัยจึงเป็นไปตามวัตถุประสงค์การวิจัย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2560). รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: กรมฯ.
นานาการ์เด็น. เครื่องสับย่อยไม้. (2562). สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.nanagarden.com/
บรรเลง ศรนิล, และประเสริฐ ก๊วยสมบูรณ์. (2526). ตารางเหล็กสำหรับผู้รับเหมาก่อสร้างและวิศวกร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อักษรวิทยา.
วริทธ์ อิ้งภากรณ์, และชาญ ถนัดงาน. (2536). การออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ศุภวัฒน์ พุฒธะพันธ์, ชูชาติ พยอม, ศุภชัย แก้วจันทร์, และมานพ สารสุข. (2560). การพัฒนาเครื่องสับย่อยแบบข้ออิสระ. วารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 11(1), 24-35.
อมรอิเล็คทริค. เครื่องสับย่อยไม้. (2562). สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2562, จาก http://www.chipperthi.com.
Buddy Girl. ขยะในสังคมไทย. (2555). สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2562, จาก http://www. buddygirl.blogspot.com.