การวิเคราะห์ศักยภาพและปัจจัยสู่ความสำเร็จในการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์การส่งออกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

ภัทร์อร ฟองสินธุ์
ปริญญา ดีรัศมี

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ศักยภาพและปัจจัยสู่ความสำเร็จในการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์การส่งออกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อหาศักยภาพและปัจจัยสู่ความสำเร็จในการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์การส่งออกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยศึกษาข้อมูลจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนแล้ว จำนวน 123 ราย จากจำนวนประชากรทั้งหมด 172 ราย ผลจากการวิจัยพบว่า โดยศักยภาพที่มีความพร้อมสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ คุณภาพของถนนเพื่อการส่งออก การบรรจุหีบห่อ และคุณภาพของบรรจุภัณฑ์สำหรับการส่งออก ตามลำดับ ส่วนศักยภาพที่มีความพร้อมต่ำสุด 3 ลำดับ ได้แก่ การวางแผนที่ตั้งคลังสินค้า/ศูนย์กระจายสินค้า กฎระเบียบด้านการส่งออก และการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเพื่อจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์การส่งออกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ พันธกิจ/เป้าหมาย/วัตถุประสงค์การดำเนินงานของกลุ่ม ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มวิสาหกิจกับผู้จำหน่ายวัตถุดิบ และการวางแผนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ตามลำดับ ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการให้ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือในด้านการใช้เทคโนโลยีในการดำเนินงานเพื่อการส่งออก มากที่สุด รองลงมาคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2554). รายงานข้อมูลวิสาหกิจชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.sceb.doae.go.th/Documents/datachw/อุตรดิตถ์.pdf

กรมประชาสัมพันธ์. (2559). ความสามารถด้านโลจิสติกส์ของอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=5862& filename=index.

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2537). คู่มือแก้ไขปัญหาโลจิสติกส์เพื่อการนำเข้าและส่งออก. กรุงเทพฯ: โฟกัสมิเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง.

_________________. (2555). คู่มือพัฒนาความสามารถด้านโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมและการเหมืองแร่. กรุงเทพฯ: โฟกัสมิเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง.

ฐาปนา บุญหล้า. (2551). คู่มือการตรวจประเมินโลจิสติกส์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รวมพล จันทศาสตร์, และอัสรียาภรณ์ สง่าอารีย์กุล. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อต้นทุนโลจิสติกส์ของไทย กรณีศึกษาผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ที่จดทะเบียนกับสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 9(1), 8-15.

แลมเบอร์ด, เดาก์ลัส เอ็ม. (2547). การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.

วีรวัฒน์ มณีสุวรรณ, และธนัญญา วสุศรี. (2557). การจัดการกรีนโลจิสติกส์กับศักยภาพของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 37(2). 215-226.

สิทธิชัย ฝรั่งทอง. (2553). ขับเคลื่อนโลจิสติกส์ด้วยการตลาด. กรุงเทพฯ: เอ็กสเปอร์เน็ท.

อดิศักดิ์ กรรณณรงค์. (2557). การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยการดำเนินงานที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ของร้านจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างในภาคใต้. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 7(1), 65-72.

George, D. & Mallery, P. (2003). SPSS for Windows step by step: A simple guide and reference. 11.0 update. 4th ed. Boston: Allyn & Bacon.

Stock, J. R., and Lambert, D. M. (2001). Strategic logistics management. Singapore: McGraw-Hill.