การประเมินทางการยศาสตร์เพื่อปรับปรุงการทำงานในขั้นตอนการกรอด้าย

Main Article Content

ศุทธินี กล่อมแสร์
เรือนขวัญ หรุ่นเริงใจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางการยศาสตร์ของการทำงานในขั้นตอนการกรอด้ายของกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านร่องยางด้วยวิธี Rapid Upper Limp Assessment (RULA) และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงวิธีการทำงาน โดยผลการประเมินก่อนการปรับปรุงขั้นตอนการกรอด้ายพุ่งและด้ายยืนมีคะแนนเท่ากับ 3 และ 4 ตามลำดับ ซึ่งแปลความว่า การออกแบบงานใหม่อาจมีความจำเป็น เนื่องจากในการกรอด้ายจะมีการใช้แขนและข้อมือปฏิบัติงานแบบซ้ำๆ เพื่อบังคับเส้นด้ายเข้าสู่หลอดกรอ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดอาการปวดเมื่อย ดังนั้นในการปรับปรุงการทำงานจึงได้มีการออกแบบและสร้างเครื่องกรอด้ายแบบดรัมให้มีการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังในการขับลูกดรัมให้หมุน เพื่อดึงเส้นด้ายจากชุดลำเลียงเข้าสู่หลอดกรอ ส่งผลให้การประเมินการทำงานภายหลังการปรับปรุงมีคะแนนเท่ากับ 2 ซึ่งแปลความว่า งานนั้นยอมรับได้ โดยผลการปรับปรุงวิธีการทำงานในขั้นตอนการกรอด้ายพุ่งและด้ายยืนมีประสิทธิภาพคิดเป็น 1.83 และ 1.48 เท่าของการทำงานแบบก่อนการปรับปรุง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

น้ำเงิน จันทรมณี. (2557). การพัฒนาปรับปรุงเครื่องทอผ้าด้วยมือตามหลักการยศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยงจากการทำงาน. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พัชรินทร์ ใจจุ้ม และทัศน์พงษ์ ตันติปัญจพร. (2561). ประสิทธิผลของการจัดโปรแกรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่วมกับการให้ความรู้ด้านการยศาสตร์เพื่อลดอาการปวดเมื่อยหลัง และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังของคนงานทอผ้าด้วยมือ ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(3), 29-39.

รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาคม. (2552). การศึกษางานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: ท้อป.

รณชัย เชลียงรัชต์ชัย, รุจิรา เสือจันทร์, และสุวิชญา สกุลงาม. (2551). ปัญหาความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อของผู้ประกอบอาชีพทอผ้าพื้นเมือง อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วันชัย ริจิรวนิช. (2555). การศึกษาการทำงาน: หลักการและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุทธินี กล่อมแสร์. (2561). การพัฒนาเครื่องกรอด้ายแบบดรัมสำหรับทอผ้าพื้นเมือง. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม : เทพสตรี I-TECH, 13(2), 91-101.